วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ZEBARFISH GMO.ปลาม้าลายเรืองแสง




...ปลาม้าลาย...

ชื่อไทย
ปลาม้าลาย หรือ ปลาซีบรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Brachydanio rerio
ชื่ออังกฤษ
Zebra Danio
ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

รูปร่างลักษณะ

เป็นปลาตัวเล็กๆ สวยงามน่ารักมักว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงไปมาด้วยความรวดเร็ว
ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว มีแถบยาวตามลำตัว 4 แถบคล้ายลายของม้าลาย มันจึงถูก
เรียกว่า ปลาม้าลาย ปลาชนิดนี้มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 5-6 ซม. เท่านั้น ปลาม้า
ลายตัวเมียค่อนข้างอ้วนป้อมกว่าตัวผู้

อุปนิสัย

ปลาที่มีขนาดเล็กมักจะว่องไว เพื่อความรวดเร็วในการ กินอาหารหรือหลบหลีกศัตรูปลาม้าลาย ก็เช่นเดียวกันเป็นปลาว่องไว เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีแต่ควรจะมีขนาดไม่แตกต่างกันมากนัก ปลาม้าลายเป็นปลา กินผิวน้ำ และชอบที่ซึ่งมีน้ำไหล
การเลี้ยงดู

ตู้เลี้ยงปลาม้าลายควรเป็นตู้ค่อนข้างกว้างพอพืชน้ำสามารถปลูกได้ เพราะปลาม้าลายกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร พื้นตู้ควรรองด้วยกรวดทรายที่สะอาด แอร์ปั๊ม จะช่วย ให้ปลาม้าลายสดใส มีชีวิตชีวามากขึ้น อาหารที่ชอบ ได้แก่ ไรแดง ลูกน้ำ
อาหารเม็ดลอยน้ำ เป็นต้น

สร้างปลาม้าลายเรืองแสงได้อย่างไร


ปลาม้าลายเรืองแสงเกิดการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม

(genetic engineering) นำยีนที่ได้จากแมงกะพรุน

หรือดอกไม้ทะเลชนิดพิเศษ ซึ่งควบคุมการสร้างโปรตีนที่เรืองแสง

ได้เองตามธรรมชาติในตัวสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

หากได้รับการกระตุ้นด้วยช่วงความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสม

ไปใส่ไว้ในสายของดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม

ของปลาม้าลายจึงทำให้ปลาม้าลายซึ่งปกติมีลักษณะใสและไม่เรืองแสง

เปลี่ยนแปลงลักษณะกลายไปเป็นปลาม้าลายที่เรืองแสงได้

เช่นเดียวกับแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลที่เป็นเจ้าของดีเอ็นเอนั้นๆ


เมื่อฉีดดีเอ็นเอควบคุมการสร้างโปรตีนเรืองแสงเข้าใน

เซลล์ไข่ของปลาม้าลาย และคัดเลือกด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ตัวอ่อนส่วนหนึ่งจะพัฒนาจนเป็นปลาม้าลายเรืองแสง (ขวาสุด)

ซึ่งแตกต่างจากปลาม้าลายทั่วไป (ซ้ายสุด)

โปรตีนเรืองแสงสีเขียวในแมงกะพรุน และโปรตีนเรืองแสงสีแดงในดอกไม้ทะเล

เป็นแหล่งกำเนิดของแสงสีต่างๆ ในปลาม้าลายเรืองแสงที่สร้างขึ้น

การเรืองแสงของปลาม้าลายเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเรืองแสงเกิดจากการยีนหรือดีเอ็นเอที่ใส่เข้าไปในปลาม้าลายนั้น

สร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้น โปรตีนดังกล่าวเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยแสง

ในช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสม จะปล่อยแสงอีกช่วงคลื่นหนึ่งออกมา เช่น

เมื่อได้รับแสง UV แล้วจะปล่อยแสงสีเขียวออกมา เป็นต้น ดังนั้น

เราจึงสามารถทำให้ปลาม้าลายเรืองแสงได้ด้วยการฉายแสงที่มีความยาวคลื่น

ที่เหมาะสมไปที่ปลาเหล่านี้ สำหรับสีที่แตกต่างกันนั้น

ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโปรตีนดังกล่าวที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

โดยที่ความแตกต่างดังกล่าวเป็นกระบวนการที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในห้องทดลอง

สร้างปลาม้าลายเรืองแสงเพื่อประโยชน์อะไร


ปลาม้าลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้เป็นต้นแบบ (model)

ในการศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนสัตว์มีกระดูกสันหลังและลักษณะต่างๆ

ทางพันธุศาสตร์ สำหรับปลาม้าลายเรืองแสงนั้น

สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

นำโดย ดร. ซีหยวน กง (Dr. Zhiyuan Gong)

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ปลาม้าลายเรืองแสงเหล่านี้เป็นตัวชี้วัด (indicator)

ปริมาณสารพิษ (toxin) หรือสภาพความเป็นพิษของแหล่งน้ำ

โดยเป้าหมายในขั้นสุดท้ายที่ต้องการก็คือ

ปลาม้าลายที่จะเรืองแสงก็ต่อเมื่อมีสารพิษปะปนอยู่ในแหล่งน้ำนั้น

โครงสร้างจำเพาะของโปรตีนเรืองแสง เป็นตัวกำหนดแสงสีต่างๆ ของปลาม้าลายเรืองแสง

แต่เพื่อเป็นการพิสูจน์ความเป็นไปได้ของแนวคิด และทดสอบกระบวนการต่างๆ

ที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างปลาม้าลายลักษณะพิเศษจำเพาะดังกล่าว

จึงต้องมีการสร้างปลาม้าลายที่เรืองแสงตลอดเวลาขึ้นก่อน

ซึ่งก็ทำให้ได้ปลาม้าลายเรืองแสงที่มีลักษณะสวยงาม

และเป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงปลาสวยงาม นอกจากกลุ่มของนักวิจัยชาวสิงคโปร์แล้ว

กลุ่มนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันก็ประสบความสำเร็จในการสร้าง

ปลาม้าลายเรืองแสงสีเขียว (ในชื่อ TK-1) เช่นกัน

และไต้หวันเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้มีการจำหน่าย

ปลาม้าลายเรืองแสงดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2546

อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม



มีการจำหน่ายปลาม้าลายเรืองแสงสีแดงในชื่อ โกลฟิช (GloFish)

เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2547 โดยก่อนหน้านั้น

มีการทดลองเพื่อตรวจสอบประเมินความเสี่ยงอย่างเข้มงวด

เป็นเวลานานกว่า 2 ปี จนในที่สุด องค์การอาหารและยา

(Food and Drug Administration, FDA) ของประเทศสหรัฐฯ

ก็อนุญาตให้จำหน่ายได้ โดยระบุชัดเจนว่า

“ไม่มีหลักฐานว่าปลาม้าลายดังกล่าวมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

มากกว่าปลาม้าลายทั่วไปแต่อย่างใด”

จึงอาจนับได้ว่า ปลาม้าลายเรืองแสงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนตัวอย่างหนึ่ง

ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายแนวทางจากปลาดัดแปลงพันธุกรรม

ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การปกป้องสิ่งแวดล้อม

การใช้เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ตลอดไปจนถึงการใช้เป็นสื่อการเรียนรู้

เพื่อดึงดูดให้เยาวชนหันมาสนใจเรื่องทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://pirun.ku.ac.th/~g5174004/index.htm
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution