วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Prepare a fish pond.การเลี้ยงปลาหมอตาล



การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอตาล

ขนาดของบ่อเลี้ยงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เลี้ยง แต่โดยทั่วไปบ่อเลี้ยงมีขนาดตั้งแต่ 400-1,000 ตารางเมตร หรือ 3-4 ไร่ขึ้นไป ความลึกของบ่อควรลึกประมาณ 1-1.5 เมตร ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต ถ้าพื้นที่กว้างจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และจะมีอาหารธรรมชาติมากขึ้น เพราะปลาหมอตาลเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ทางธรรมชาติได้โดยการผสมพันธ์กันเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะอาดของบ่อ ต้องไม่มีศัตรูของปลาหมอตาลที่จะไปกินไข่ปลาในระหว่างปลาเริ่มวางไข่ ถ้ามีศัตรูของปลาจะทำให้ไข่ถูกทำลายได้ง่าย และไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ คันบ่อต้องมีความลาดเอียงเพื่อป้องกันดินพัง จะลาดเอียงขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน คันบ่อต้องมีขนาดใหญ่และสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอตาล
      ขนาด ของบ่อเลี้ยงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เลี้ยง แต่โดยทั่วไปบ่อเลี้ยงมีขนาดตั้งแต่ 400-1,000 ตารางเมตร หรือ 3-4 ไร่ขึ้นไป ความลึกของบ่อควรลึกประมาณ 1-1.5 เมตร ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต ถ้าพื้นที่กว้างจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และจะมีอาหารธรรมชาติมากขึ้น เพราะปลาหมอตาลเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ทางธรรมชาติได้โดยการผสมพันธ์กันเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะอาดของบ่อ ต้องไม่มีศัตรูของปลาหมอตาลที่จะไปกินไข่ปลาในระหว่างปลาเริ่มวางไข่ ถ้ามีศัตรูของปลาจะทำให้ไข่ถูกทำลายได้ง่าย และไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ คันบ่อต้องมีความลาดเอียงเพื่อป้องกันดินพัง จะลาดเอียงขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน คันบ่อต้องมีขนาดใหญ่และสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
การเตรียมบ่อใหม
      ถ้า เป็นบ่อใหม่ซึ่งดินมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวปรับค่าความเป็นกรดและด่าง ในอัตราส่วน 100-300 กิโลกรัม เพื่อให้ค่าความเป็นกรดและด่างอยู่ในระดับ 7.5-8.5 ถ้าสภาพบ่อเป็นกรดมากคือ ในระดับต่ำกว่า 4 ควรใช้ปูนขาวประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ โรยที่พื้นบ่อก่อนปล่อยน้ำเข้าบ่อ ถ้าเป็นบ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลามาแล้ว จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อโดยการกำจัดวัชพืช หรือพันธุ์ไม้น้ำออกให้หมด การที่บ่อสะอาดปราศจากวัชพืชต่าง ๆ จำพวกผักตบชวา จอก หรือแหน จะช่วยให้การหมุนเวียนของอากาศภายในบ่อดีขึ้น และยังเป็นการกำจัดที่อยู่อาศัยของศัตรูของปลาหมอตาลได้เป็นอย่างดี
ศัตรูของปลาหมอตาล
      เป็น พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก และสัตว์ชนิดอื่น เช่น กบ เขียด และปู เป็นต้น ควรจับสัตว์เหล่านี้ออกเสียก่อนโดยวิธีระบายน้ำออกให้แห้งแล้วจับขึ้นมา พร้อมทำการล้างบ่อโดยการลอกเลนที่ก้นบ่อ หรือใช้โล่ติ๊นในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ขนาด 100 ตารางเมตร ทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดแล้วแช่น้ำในปี๊บ นำน้ำไปราดให้ทั่วบ่อปลา ศัตรูของปลาจะตายและลอยขึ้นมา ต้องเก็บขึ้นไม่ให้เหลือซากเน่าในบ่อ ซึ่งอาจทำให้น้ำเสียในภายหลังได้ ก่อนปล่อยปลาหมอตาลลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวหมด
     ((โล่ติ๊น หรือชื่ออื่น ๆ เช่น กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหลน้ำ อวดน้ำ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กลับแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อสีชมพู ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ผลเป็นฝัก สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ราก ใช้รากฆ่าเหาและเรือด ฆ่าแมลง เบื่อปลา โดยนำรากมาทุบ แช่น้ำทิ้งไว้ ใช้เฉพาะส่วนน้ำ พบมีสารพิษชื่อ rotenone ซึ่งสลายตัวง่าย ถ้าใช้ฆ่าแมลง จะไม่มีพิษตกค้าง)
ารใส่ปุ๋ยในบ่อ
      ปลา หมอตาลเป็นปลากินพืช กินอาหารตามธรรมชาติพวกแพลงค์ตอน แต่ปริมาณอาหารพวกนี้อาจไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลทำให้ปลาโตช้า ดังนั้นจึงต้องช่วยเพิ่มปริมาณอาหารในบ่อให้มากขึ้นอยู่เสมอ โดยการใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก เช่น มูลวัว มูลสุกร หรือมูลไก่ แม้กระทั่งปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดลงไปในบ่อ ปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสมที่จะใส่ลงในบ่อนั้น ถ้าหากเป็นปุ๋ยหมักส่วนใหญ่จะใส่ในอัตราส่วน 500-700 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็ยปุ๋ยคอกจะใส่ในอัตราส่วน 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีใส่ในอัตราส่วน 16 กิโลกรัมต่อไร่
การปล่อยปลาลงบ่อที่เตรียมไว้แล้ว
      เมื่อ เตรียมน้ำในบ่อให้มีธาตุอาหารตามธรรมชาติครบถ้วนแล้ว สามารถปล่อยลูกปลาหมอตาลลงบ่อได้ โดยขนาดของตัวปลาขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เลี้ยง แต่จำนวนในการปล่อยปลาหมอตาลที่เหมาะสมคือประมาณ 5,000 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่
ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาหมอตาลเพื่อเป็นปลาเนื้อ
      ใช้ ระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน เท่ากับปลานิล หรือปลาหมอกลม (ปลาหมอไทย) แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดและน้ำหนัก ปลาหมอตาลที่มีขนาดพอเหมาะจะมีน้ำหนักประมาณตัวละครึ่งกิโลกรัม ถ้าต้องการน้ำหนักดี ให้เลี้ยงประมาณ 1 ปี จะได้น้ำหนัก 0.8-1 กิโลกรัม
การให้อาหารปลาหมอตาล
      โดย ธรรมชาติปลาหมอตาลสามารถเจริญเติบโตได้จากการกินอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ ในบ่อ แต่เพื่อให้ปลาโตเร็ว ก็ควรให้อาหารเพิ่มจำพวกรำ ปลายข้าว กากถั่ว ขี้ไก่ไข่ กากน้ำปลา มูลหมู การให้อาหารจะให้วันละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง ควรกะปริมาณให้พอดี ไม่ควรให้มากจนเกินไป ส่วนมากจะให้ประมาณ 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้ามีการให้อาหารเม็ดโปรตีน 25% ก็ให้ได้วันละ 10% ของน้ำหนักปลา แล้วปรับปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นได้ตามขนาดน้ำหนักปลาที่เพิ่มขึ้น การให้อาหารถ้าให้มากเกินไปปลาจะกินไม่หมด จะทำให้น้ำในบ่อเสียได้
การเจริญเติบโต
      ปลา หมอตาลเป็นปลาที่เจริญเติบโตได้เร็ว มีอัตราการรอดของลูกปลาสูง จึงไม่ควรปล่อยจำนวนปลามากเกินไป อัตราการปล่อยปลาหมอตาลที่ไม่รวมกับปลากินพืชชนิดอื่นจำนวนที่ปล่อยโดยทั่ว ๆ ไป 4,500-5,000 ตัวต่อไร่ ถ้ารวมกับปลากินพืชชนิดอื่นต้องลดจำนวนลงให้พอเหมาะ และควรให้อาหารเพียงพอกับความต้องการของปลาตามขนาด โดยทั่วไปเมื่อปลาหมอตาลอายุ 7-8 เดือน จะได้น้ำหนักตัวประมาณ 500-600 กรัม แต่ถ้าเลี้ยงปลาจนอายุ 10-12 เดือน จะได้น้ำหนักตัวปลาประมาณ 900-1,000 กรัม นับว่าเป็นปลาที่มีอัตราการแลกเนื้อที่ดี ปลาหมอตาลปกติสามารถวางไข่ได้ตามธรรมชาติ แต่อัตราการรอดของลูกปลาจะแตกต่างจากปลานิลมาก เพราะปลานิลมักอมไข่และลูกไว้ในปาก ขณะที่มีศัตรูเข้ามาใกล้ ปลาหมอตาลเป็นปลาที่ไข่ลอยน้ำ มักจะถูกศัตรูทำลายก่อนไข่จะฟักเป็นตัว ปลาหมอตาลเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ จับได้ง่าย ทำให้ในอดีตปลาหมอตาลถูกจับมาบริโภคเป็นจำนวนมากจนใกล้จะสูญพันธุ์
การเลี้ยงปลาหมอตาลร่วมกับสัตว์น้ำชนิดอื่น
      การ เลี้ยงใต้เล้าไก่ โดยการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไว้บนบ่อปลา หรือเลี้ยงใต้เล้าหมู เพื่อให้มูลหมูลงไปในบ่อปลา การเลี้ยงด้วยวิธีนี้เป็นการเลี้ยงที่เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เพราะการเลี้ยงปลาหมอตาลรวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน หรือปลาสลิด เมื่อปลามีน้ำหนักได้ประมาณ 200-300 กรัม ศัตรูจากปลากินเนื้อก็จะน้อยลง เพราะปลาหมอตาลสามารถหลบศัตรูได้แล้ว จึงไม่มีปัญหาเมื่อเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ในบ่อเดียวกัน
การเลี้ยงปลาหมอตาลในนาข้าว
      ทำ การปรับปรุงนาข้าว โดยการขุดคูรอบแปลงนาและเสริมคันดินให้สูง อาจแบ่งแปลงนาเป็นขนาดเล็ก ๆ ปล่อยปลาหมอขนาด 1-4 เซนติเมตร ลงไปจำนวน 1,000-1,500 ตัวต่อไร่ เมื่อปลูกข้าวได้ 1-2 สัปดาห์ หรือหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว แต่การเลี้ยงปลาในนาข้าวมีข้อจำกัดอยู่ที่ไม่สามารถใช้ยาปราบศัตรูพืชได้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อปลา อาจทำให้ผลผลิตข้าวไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ได้ผลผลิตของปลาหมอตาลทดแทนคือ จะได้ปลา 600-900 กิโลกรัมต่อไร่
      ปลา หมอตาลเป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนสูง เป็นปลาที่หายาก มีเนื้อมาก รสชาติดี และเป็นปลาที่ผู้เลี้ยงสามารถกำหนดราคาขายได้ ปัจจุบันราคาขายในท้องตลาด ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 40-50 บาท หรือทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปลา เช่น ปลาหมอตาลแดดเดียว ปลาหมอตาลเค็ม หรือนำไปปรุงอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ต้มยำ ฉู่ฉี่ นึ่งมะนาว ทอดราดพริก เป็นต้น นับว่าเป็นปลาที่ควรค่ากับการเลี้ยง 

ขอบคุณข้อมูล จากนิตยสารการเกษตร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2548
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution