วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Researchers decode genetics mg giant catfish successfully . นักวิจัย มก. ถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกได้สำเร็จ

ปลาบึก (Pangasianodon gigas Chevey) เป็นปลาบึกน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำโขงแห่งเดียว เป็นปลาที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์



ซึ่งภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้จัดให้อยู่ใน เรดลิสท์ (red list) แต่ประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกเมื่อปี 2526 และขณะนี้ได้กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย จรด้วง และนายประดิษฐ แสงทอง แห่งภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำลังศึกษาวิจัยเรื่องการจำแนกทางพันธุกรรมประชากรปลาบึกจากบ่อเลี้ยง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมจากไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอของปลาบึก ตลอดทั้งจีโนมสำเร็จโดยสมบูรณ์แล้ว และพลว่าไมโตคอนเดรียของปลาบึกขนาด 16,533 นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยยีนควบคุมการสร้างโปรตีน 13 ชนิด ทีอาร์เอ็นเอ (tRNA) 22 ชนิด ไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ (rRNA) 2 ชนิด และบริเวณควบคุม (control region) ซึ่งข้อมูลพันธุกรรมดังกล่าวนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อ




1. การศึกษาชีวประวัติครอบครัวอันจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการผสมพันธุ์ในอนาคต



2. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของปลาบึก

3. การสืบสวนชีวประวัติแหล่งที่มาของปลาบึก เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการอนุรักษ์ และการค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และรวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการกับปลาอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ฯลฯ









ลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมดของปลาบึก รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย จรด้วง ได้นำไปฝากไว้ที่ Gen Bank ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาปลาบึกหรือปลาอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่ www.ncbi.nim.nih.gov ภายใต้ accession number AY 762971



ท่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามรายละเอียดได้ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย จรด้วง ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โทรศัพท์ 0-2942-8200-71 ต่อ 1691



ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.ku.ac.th/e-magazine/january48/agri/fish.html
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution