วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Prophylaxis การป้องกันโรค




1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว
อนึ่ง ในการรักษาโรดปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา








ภาพที่ 10 ปลาดุกมีเห็บระฆังเกาะ จะมีเมือกสีขาวขุ่นคลุมตัวอยู่









ภาพที่ 11 ปลาดุกที่มีพยาธิเกาะเป็นจำนวนมาก อาจเกิดครีบกร่อนได้









ภาพที่ 12 ลูกปลาท้องบวมน้ำ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและมีการตกเลือด









ภาพที่ 13 ลูกปลามีรอยด่างขาวตามลำตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Flexibacter columnaris









ภาพที่ 14 ปลาดุกมีพยาธิปลิงใสเกาะตามลำตัว









ภาพที่ 15 ปลาเป็นแผลเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila









ภาพที่ 16 โอโอดิเนียมบริเวณเหงือกปลา









ภาพที่ 17 ปลามีรอยด่างและเป็นแผลเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อน




ชนิดของสารเคมี/ยา วัตถุประสงค์ ปริมาณที่ใช้
เกลือ กำจัดแบคทีเรียบางชนิดเชื้อราและปรสิต บางชนิดลดความเครียดของปลา0.1-0.5%่ แช่ตลอด 0.5-1.0 % แช่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ปูนขาว ฆ่าเชื้อก่อนปล่อยปลาปรับ PH ของดินและน้ำ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ
คลอรีน ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กับบ่อเลี้ยงปลา 10 พีพีเอ็ม แช่ 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนใช้
ดิพเทอร์เร็กซ์ กำจัดปลิงใส เห็บปลา หนอนสมอ 0.25-0.5 พีพีเอ็ม แช่ตลอด ยาที่ใช้ควรเป็นผงละเอียดสีขาว ถ้ายาเปลี่ยนเป็นของเหลวไม่ควรใช้
ฟอร์มาลิน กำจัดปรสิตภายนอกทั่วไป 25-50 พีพีเอ็มแช่ตลอด ระหว่างการใช้ควรระวังการขาดออกซิเจนในน้ำ
ออกซีดเตตร้าซัยคลิน กำจัดแบคทีเรีย ผสมกับอาหารในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินนาน 7-10 วันติดต่อกัน แช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ตันนาน 5-7 วัน
คลอแรมฟินิคอล กำจัดแบคทีเรีย ผสมกับอาหารอัตรา 1 กรัมอาหาร 1 กิโลกรัมหนึ่งสัปดาห์ บางครั้งก็ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อแบ



ขอบคุณที่มาข้อมูล
http://web.ku.ac.th/agri/dook/dook6.htm
http://web.ku.ac.th/agri/dook/dook7.htm

> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution