วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Breeding in tilapia sex.การเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ



      อาารย์ กำจัด รื่นเริงดี หัวหน้าสานีวิจัยประมงกำแพงแสน ได้กล่าวว่า วัถุประสงค์ขอการทำวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลา นิล ถึงแม้ว่าปลานิลจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และขยายพันธุ์ได้ลอดทั้งปี แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาในเรื่องของการเจริญเติโต และขนาดที่แตกต่างกันของปลานิล ซึ่งส่งผลกระบต่อรายได้ของเกษตรกร
   

 คณะ ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้ทำการค้นคว้าเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร จึงเริ่มทำโครงการวิจัยการเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศขึ้น โดยเปลี่ยนปลานิลเพศเมียให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด เนื่องจากปลานิลเพศผู้นั้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพศเมีย โดยเมื่อเพศเมียออกไข่แล้ว ก็จะหยุดการเจริญเติบโต จึงทำให้ขนาด และน้ำหนักตัวลดลง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร สำหรับการแปลงเพศปลานิลครั้งนี้ ได้ใช้ฮอร์โมนเพศผู้ หรือแอนโดรเจน (Androgen) ผสมในอาหารให้ลูกปลาวัยอ่อนกิน เพื่อโน้มนำให้เกิดการเปลี่ยนเพศ
      สำหรับ การสังเกตเพศของปลานิลว่า เป็นเพศผู้หรือเพศเมียนั้น สามารถสังเกตได้โดย ถ้าเป็นเพศเมียจะมีอวัยวะเพศสีชมพูแดงเรื่อ ๆ ท้องค่อนข้างกลม คางมีสีเหลือง ส่วนเพศผู้นั้น สีของลำตัวจะเข้มสด คางมีสีชมพูเข้มออกแดง ซึ่งก่อนการนำปลานิลมาเปลี่ยนเพศ จำเป็นต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล ซึ่งการนำปลานิลมาแปลงเพศนั้น ต้องมีการนำไข่ออกจากปากแม่ปลา เพื่อนำไปฟักก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบถึงอายุของไข่ปลาในการนำมาฟัก ซึ่งระยะการเจริญของไข่ปลานั้น แบ่งออกเป็น 5 ระยะดังนี้
     ระยะที่ 1 ไข่ยังไม่มีการพัฒนา มีสีเหลือง หรือสีน้ำตาล
     ระยะที่ 2 ไข่มีการพัฒนา เริ่มเห็นจุดดำ ๆ 2 จุด
     ระยะที่ 3 เริ่มมองเห็นดวงตาได้ชัดเจน และมีหางใส ๆ เกิดขึ้น
      ระยะที่ 4 ลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้ แต่ยังมีถุงไข่ติดหน้าท้อง
      ระยะที่ 5 ถุงไข่แดงหน้าท้องยุบลง
      เมื่อ ถุงหน้าท้องยุบจนถึงอายุประมาณ 3-4 วัน ลูกปลาจะว่ายน้ำออกจากกรวยมาสู่ถาดอนุบาล เมื่อมาถึงระยะนี้ ระบบสืบพันธุ์ของลูกปลาจะเริ่มพัฒนา จึงเป็นช่วงที่จะเริ่มให้กินอาหารผสมฮอร์โมน ซึ่งการทำอาหารผสมฮอร์โมนนั้น สามารถทำได้โดยการเตรียมปลาป่น 500 กรัม มาผสมกับรำ 500 กรัม แล้วนำไปร่อนเก็บเอาส่วนผงไว้ใช้ จากนั้นทำการละลายฮอร์โมนแอนโดรเจน 0.06 กรัม ในเอธานอล 240 ซีซี (เก็บใส่ขวดสีชาแช่ตู้เย็น) และพ่นฮอร์โมนให้กับปลาป่นผสมรำที่ร่อนแล้ว ผึ่งให้แห้งประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งสามารถเก็บในตู้เย็นได้ เมื่อลูกปลาถูกฝึกให้กินอาหารในถาดอนุบาล 1-2 วัน ก็จะถูกย้ายลงไปอนุบาลในกระชัง โดยในหนึ่งกระชังจะเลี้ยงลูกปลา 10,000-20,000 ตัว การให้อาหารลูกปลานิลแปลงเพศนี้ ควรให้อาหารวันละ 5 มื้อ แต่ละมื้อควรมีระยะห่าง 2 ชั่วโมง โดยทำการให้อาหารดังนี้
      วันที่ 1-10 ให้อาหารผสมฮอร์โมน 30% ของน้ำหนักตัว
      วันที่ 11-30 ให้อาหารผสมฮอร์โมน 20% ของน้ำหนักตัว
       หลังจากวันที่ 30 ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป 20-30% ของน้ำหนักตัว จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ และถ้าเราต้องการทราบว่า ปลานิลที่แปลงเพศไปแล้วนั้น ได้เปลี่ยนเป็นเพศผู้หรือยัง ท่านอาจารย์กำจัดได้กล่าวว่า เราสามารถผ่าดูเพศได้ เมื่อปลานิลอายุได้ 30-60 วัน ซึ่งจากการทดลองเปลี่ยนเพศปลานิลนี้พบว่า สามารถเปลี่ยนเพศปลานิลให้เป็นเพศผู้ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
      หาก ท่านผู้อ่านท่านใดมีความสนใจในเรื่อง "การเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ" สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน โทรศัพท์ 0-3435-1594 

ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2549
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution