วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Nursing fish.การอนุบาลปลา



ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร


การขนส่งลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน น้ำที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เข่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลุกปลาและการเน่าเสียของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อง 1 ลูกปลาดุก ลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์
ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้ว ค่อย ๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อ ๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่น ๆ

ขอบคุณที่มาจาก  http://web.ku.ac.th/agri/dook/dook3.htm 

> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution