วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Thanyaburi developed through the fish.มทร.ธัญบุรีพัฒนาเครื่องผ่าปลา




ปลากะตักเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีชื่อเรียกหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป อาทิ ไส้ตัน  ปลาหัวอ่อน ปลาจิ้งจั๊ง  ปลามะลิ   ปลายู่เกี้ย  ปลาเก๋ย  ปลากล้วย  ชาวประมงนิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำน้ำปลาชั้นดี บูดู และปลาป่น 
 นอกจากนี้ปลากะตักยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง หรือเป็นที่รู้จักในนามของปลาไส้ตันตากแห้งหรือปลาฉิ้งฉ้าง สามารถจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  จะเห็นว่าช่วงเวลา2-3 ปีมานี้ ความต้องการปลากะตักตากแห้งของต่างชาติ ที่เข้ามากว้านซื้อปลากะตักของไทยสูงกว่าความต้องการในประเทศสูง 5-10 เท่าตัว



 ทั้งนี้แม้ความต้องการผลิตภัณฑ์ปลากะตักตากแห้งมีจำนวนมากขึ้น แต่ชาวบ้าน ผู้ผลิตปลาไส้ตันตากแห้งกลับประสบปัญหาผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการของตลาด ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลิตได้ล่าช้าคือ กรรมวิธรการผลิต ที่ต้องใช้แรงงาน และเวลา เนื่องจาก ก่อนจะได้ปลากะตักตากแห้งสำเร็จรูป ผู้ผลิต จะต้องนำปลากะตักไปต้ม และตากแห้ง จากนั้นก็ต้องเด็ดหัว และผ่าเอาก้างออก กรรมวิธีดังกล่าวมานี้ล้วนแต่ใช้แรงงานคน ซึ่งทำได้ช้าไม่ทันกับความต้องการ อีกทั้งมือที่เด็ดหัวปลา และฉีกเอาก้างออกเมื่อต้องทำในปริมาณมากๆก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
 ด้วยเหตุนี้เองทำให้  นางสาวศิริวรรณ  สุขเขียว นางสาวสุนิสา  ทอทอง  และนางสาวสิรินทร์พร  แข่งขัน นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รับโจทย์ปัญหาของชาวบ้าน มาต่อยอดเป็นนวัตกรรม เครื่องผ่าปลากระตักขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว จนสามารถนำไปใช้ทุ่นแรงของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
 การออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวพร้อมส่งต่อไปใช้กับอุตสาหกรรมแปรรูปปลากะตัก เพื่อลดการใช้แรงงานคน ในกระบวนการเด็ดหัวปลา และผ่าซีกเอาก้างปลาออกได้แล้ว โดยขณะนี้ทีมวิจัยนำไปให้ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพทำปลากะตักตากทดลองใช้งานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมี อาจารย์พฤกษา   สวาทสุข (มทร.ธัญบุรี) และดร.ศุภกิตต์   สายสุนทร (ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน) เป็นที่ปรึกษาโครงการ
 ผู้วิจัย กล่าวต่อว่า การทำงานของเครื่องคือ เมื่อป้อนปลากะตักลงเครื่อง ผ่านลูกกลิ้งทรงกระบอกเข้าสู่ใบมีด เพื่อทำการผ่าปลากะตักให้แยกเป็น 2 ซีกโดยมีลมเป่า ทำให้ปลาที่ผ่าได้ตกหล่นสู่ตะแกรงคัดแยก ระหว่างเศษไส้ ก้าง และหัวปลา ออกจากตัวปลา ส่วนปลาที่ไม่ได้ถูกผ่าจะมีการลำเลียงผ่านสกรูลำเลียงเพื่อนำกลับไปผ่าซ้ำ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดอาศัยแรงงานคนคือใส่ปลาลงเครื่องและควบคุมเครื่องเพียงหนึ่งคนเท่านั้น ไม่ได้สิ้นเปลืองแรงงาน ซึ่งตามปกติแล้วหากจ้างแรงงานคนจะจ้างกันกิโลกรัมละ 2 บาท และได้ปริมาณเพียงวันละ 10 กิโลกรัม แต่เมื่อใช้เครื่องผ่าปลากระตัก จะสามารถทำงานได้ 2.5 กิโลกรัมต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/451366
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution