วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Contract Farming and Riverine Aquaculture.เกษตรพันธะสัญญากับการเลี้ยงปลาในกระชัง :: รูปธรรมสัญญาทาสกับความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องแบกรับ

สุเมธ ปานจำลอง
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร
เกษตรพันธะสัญญา 4 พื้นที่ภาคอีสาน
ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่มีความคาดหวังต่อการทำเกษตรกระแสหลัก ซึ่งมีนโยบายรัฐสนับสนุน ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมเข้าสู่การผลิตแบบใหม่ ใช้เทคโนโลยีใหม่และใช้การตลาดเข้ามาหนุนเสริม โดยเริ่มจากการปลูกปอ ปลูกมัน ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา ปลูกยูคาลิปตัส การเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ เลี้ยงหมู กระทั่งเมื่อประมาณ ปี 2540 ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยบริษัทให้ความหวังกับเกษตรกรว่าจะมีหลักประกันราคา และเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาการเกษตร มีการสนับสนุนกองทุนหนุนการผลิต มีเทคโนโลยีที่ง่ายสะดวกสบาย สิ่งเหล่านี้เรียกง่ายๆ ว่า “เกษตรพันธะสัญญา”

คำว่า “เกษตรพันธะสัญญา” เป็นการทำเกษต ที่มีข้อตกลงกันระหว่างบริษัทหรือกลุ่มทุนกับเกษตรกรให้ทำการ ผลิต ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กรณีการเลี้ยงปลาในกระชัง ร้านค้าที่เป็นตัวแทนบริษัทจะตกลงกับเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงปลา ทางร้านสัญญาว่าจะช่วยเหลือ เรื่องพันธุ์ปลา อาหารปลา ความรู้การเลี้ยงปลา และตลาดปลา เป็นต้น ดังนั้นเกษตรพันธะสัญญาจึงเป็นที่มา ของแรงงานนอกระบบและสร้างปัญหาให้แก่ เกษตรกรมากมาย เพราะบริษัท และห้างร้าน ต้องการหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน สร้างแนวทางใหม่โดยทำข้อตกลงเป็นเพียงสัญญา “จัดว่าจ้างทำของ” คล้ายกับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบการลงทุนและ ความเสี่ยงต่อการผลิตเองทั้งหมด

จากบทเรียนการทำงานของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญา และการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน พบว่าการเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นรูปแบบพันธะสัญญาที่มีการตกลงสัญญ าระหว่างตัวแทนบริษัทกับเกษตรกรเป็น ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม เพราะการตกลงที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร ไม่มีความแน่นอนทางด้านราคา สินค้าที่จะใช้ในการผลิตถูกกำหนดโดยบริษัทเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคา เมื่อขายหรือจำหน่ายผลผลิต เพราะเงื่อนไขต่างๆ ถูกกำหนดด้วยร้านค้าและกลุ่มทุนด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งกระบวนการผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และ การประกันหมู่ของกลุ่มผู้ เลี้ยงปลาด้วยกัน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนถ้าจะทำการลงทุนต่อ จะขอทางร้านได้เพียงผ่อนผันหนี้ไม่เช่นนั้น จะดำเนินการยึดทรัพย์หรือบุคคลไปรับรองค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบ การใช้กระบวนการแบบนี้ เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อไม่ให้ความผิดอยู่ที่ตนหรือเป็นยุทธการใหม่ทาง การค้าที่เรียกว่า “เกษตรพันธะสัญญา” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สัญญาทาส” ซึ่งมีนัยสำคัญของปัญหา ที่เป็นประสบการณ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากับร้านค้า สัญญา ดังกรณีการศึกษาของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญาและการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน ต่อไปนี้
กรณีศึกษาตำบลเขวาใหญ่
จากบทเรียนและประสบการณ์การเลี้ยงปลาในกระชัง ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในเขตพื้นที่แม่น้ำชีตอนกลางระหว่างฝายมหาสารคามบ้านคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ถึงฝายบ้านวังยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ข้อเท็จจริงว่าเมื่อปี 2540 มีเกษตรกรที่ชื่อนายบัวลี ที่มีเพื่อนเลี้ยงปลา อยู่บ้านดินดำ ตำบลเกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ทำการเลี้ยงปลามาก่อน จึงได้ไปเรียนรู้และขอคำแนะนำ เริ่มจากการเลี้ยงปลา 4 กระชังเมื่อปี 40 ขยายถึง 52 กระชังในปี 2544 โดยมีร้านค้าในเมืองมหาสารคามเป็นผู้ให้ทุนกู้ เรื่องอาหารปลา พันธุ์ปลา และตลาดปลา มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานให้กู้ เรื่องการจัดซื้ออุปกรณ์การเลี้ยง เช่น โครงสร้างเหล็กทำกระชัง พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรในชุมชน มีผู้เลี้ยงเพิ่มขึ้นในชุมชน 150 ครอบครัว เฉลี่ยครอบครัวละ 6 กระชัง รวม 900 กระชัง ในปี 2544 ซึ่งจากการศึกษา สาเหตุของการตัดสินใจเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นมีสาระสำคัญคือ

1. การลงทุนเลี้ยงปลาเป็นการลงทุนมือเปล่า กล่าวคือ ครอบครัวไหน ที่ต้องการใช้ทุนเลี้ยงปลาเพียงใช้ที่นาและหลักทรัพย์ค้ำประกัน กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และร้านค้าก็สามารถเป็นผู้เลี้ยงปลาได้แล้ว

2. การเลี้ยงปลาในช่วงแรกจะใช้ระยะเวลาสั้น เลี้ยง 90 วัน ได้ปลาน้ำหนัก 7 - 8 ขีด ก็สามารถขายได้ในราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสามารถสร้างรายได้ประมาณกระชังละ 4,000 บาท ถึง 5,000 บาท

3. เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนิยมเลี้ยง (ทั้งหมู่บ้าน180 ครอบครัว ทำการเลี้ยงปลาจำนวน 150 ครอบครัว) ในแต่ละปีจะมีงานเลี้ยงที่บริษัทจัดสัมมนาคุณลูกค้า ทำให้ครอบครัวที่ไม่เลี้ยงปลา คล้ายกับว่าตัวเองไม่ทันสมัยทันเหตุการณ์ของสังคมของชุมชน
การเลี้ยงปลาในกระชัง ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในเขตพื้นที่แม่น้ำชีตอนกลางระหว่างฝายมหาสารคามบ้านคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ถึงฝายบ้านวังยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
หลังปี 2544 มีผู้เลี้ยงปลาสูงสุด 150 ครอบครัว จากนั้นก็ลดลงจนถึงปัจจุบัน เหลือเพียง 40 ครอบครัว สาเหตุของการลดจำนวนลงหลายคนได้เหตุผลนานาประการ โดยเฉพาะนายโฮม ผู้เลี้ยงปลาบ้านขี้เหล็ก ที่เลี้ยงมา 5 ปี คือ ปี 2540-2545 ได้ให้เหตุผลว่า “การเลี้ยงปลาหลายคนว่ามันได้กำไร มันไม่ใช่แล้วในช่วงปัจจุบัน มันเป็นภาพลวงตา เพราะราคาลูกปลา อาหารปลา และราคาวัสดุเพิ่มขึ้น แต่ราคาขายปลา 8 ปี ยังอยู่ราคา 40 บาทเหมือนเดิม มีแต่ร้านค้าที่ขายอาหารเอากำไรจากเราไปหมด คนที่ลงทุนแล้ว จำเป็นต้องเลี้ยงต่อเพราะผูกพันกับบริษัท” และส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการไม่สามารถจัดการหนี้สินของตนเองได้จึง “ต้องจำใจเลี้ยงต่อ” นางอุบล เกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังต้องตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน บอกว่า ช่วงแรกกำไรดี เพราะมีระยะเวลาการเลี้ยงสั้น คือ 90 วัน แต่ปัจจุบันต้องใช้เวลาเลี้ยงมากกว่า 120 วัน เพราะคนเลี้ยงมาก ดังนั้นหาก คนเลี้ยงปลาไม่รู้จักจังหวะ โอกาสและเป็นลูกค้าที่ดีกับร้านค้าจะไม่สามารถรู้ข้อมูลจากทางร้าน ก็จะประสบปัญหาการขาดทุนทันที ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นที่มาของปัญหาของการเลี้ยงปลาในปัจจุบัน
ความเสี่ยงต่อการลงทุนการเลี้ยงปลา
จากการศึกษาปัญหาการเลี้ยงปลากระชังในพื้นที่ของโครงการฯ พบว่า ในการเลี้ยงปลาแต่ละครั้งเกษตรกรจะต้องลงทุน 2 อย่าง กล่าวคือ
1 การลงทุนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงซึ่งจะใช้ได้ในระยะ 5 – 8 ปี โดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นหน่วยงานที่ให้เงินกู้ใน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 9 % จำนวนเงินกู้แล้วแต่ความต้องการของเกษตรกร

ตารางเปรียบเทียบการลงทุนการจัดทำเลี้ยงปลา
และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงปลาขนาด 6 x 9 เมตร จำนวน 6 กระชัง

เมื่อ เปรียบเทียบการเลี้ยงในระยะแรกกับระยะเลิกเลี้ยง จะพบว่าเงื่อนไขและปัจจัย ที่ต้องลงทุน ในแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 53,800 บาท นั่นหมายถึงภาระหนี้สินของเกษตรกรจะต้องเพิ่มขึ้น โดยทางบริษัทและร้านค้ามอง ว่าเป็นมาตรฐานการผลิต
ตารางการเปรียบเทียบการลงทุนเลี้ยงปลา 1 กระชัง
ระหว่างร้านค้าตัวแทนบริษัทกับการจัดทำโดยเกษตรกรทั่วไป
จากการเปรียบเทียบการกู้บริษัทหรือตัวแทนร้านค้า พบว่าส่วนต่างที่เกษตรกรต้องจ่ายเพิ่ม คือ 5,760 นั้นหมายถึงส่วนต่าง ที่เกษตรกรพึงจะได้ไม่ใช่กลายเป็นดอกเบี้ยของการกู้แต่ละครั้งต่อการเลี้ยงในหนึ่งกระชัง
ตารางสรุปการลงทุนและผลผลิตที่ได้รับจากการเลี้ยงปลา ในแต่ละครั้ง
ขนาด 1 กระชัง ( 3 x3 ม. : 1,000 ตัว )

จาก การศึกษาจะพบว่าในการเลี้ยงปลาแต่ละครั้ง เกษตรกรจะขาดทุน 4,300 บาทต่อกระชัง ซึ่งความเสี่ยง ต่อการขาดทุนนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่คิดค่าแรงงานและค่า จัดการอื่น ๆ (ค่าแรง 3,000บาท) จึงคล้ายกับว่าจะมีโอกาสในการได้กำไร หรือถ้าอัตราการตายของปลาในแต่ละครั้งไม่ถึง 20 % หากการเลี้ยงที่ไม่เป็นไปตามโอกาสนั้นจึงหมายถึงการขาดทุน หนี้สินและหลักทรัพย์ค้ำประกันจะหลุดมือไป ภายใต้การกู้ยืมกับธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร และร้านค้าที่สัญญาว่าจะช่วย จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เ กษตรกรผู้เลิกเลี้ยงจะมีภาระหนี้สินหรือการขาดทุน ที่ไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อครอบครัว (ข้อมูล : การสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านขี้เหล็ก : 2549 )
ปลาในกระชังตายมีสาเหตุมาจากน้ำเสีย
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549
ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม “ลำน้ำชี”
จากการศึกษาพื้นที่การเลี้ยงปลาในกระชัง จะใช้แม่น้ำชีเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงเป็นช่วง ๆ ซึ่งในแต่ละช่วงจะอยู่ระหว่างฝายกั้นแม่น้ำ ซึ่งในแม่น้ำชีฝายทั้งหมด 8 ตัว เฉพาะพื้นที่การศึกษาอยู่ระหว่างฝายมหาสารคามหรือบ้านคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ถึงฝายบ้านวังยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร พบว่า

1. การเลี้ยงปลาในกระชังจะมีขี้ปลาในแต่ละวัน ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อกระชัง ปัจจุบันมีครอบครัว เลี้ยงปลา 40 ครอบครัว เฉลี่ยครอบครัวละ 6 กระชัง รวม 240 กระชังจะมีขี้ปลาละลายในแม่น้ำ วันละ 7.2 ตัน ดังนั้นของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงปลาในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำชีที่เป็นแหล่งน้ำชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การที่บริษัทได้ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลา แล้วมองว่าเกษตรกรเป็นผู้กระทำเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เพราะถ้าพิจารณาผลกำไรจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำชี ทำการผลิตแล้วจะพบ ว่าผลกำไรได้คืนให้บริษัทหมด ดังนั้นบริษัทจะต้องรับผิดชอบต่อการฟื้นฟู

2. การเลี้ยงปลาในกระชังได้ใช้การตลาดนำการผลิต การเลี้ยงปลาจึงขยายการเลี้ยงไปตามลำน้ำและมีปริมาณที่มากขึ้นทุกปี ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ (ข้อมูล : การสัมภาษณ์แม่ค้าขายปลาในตลาด จากจังหวัดมหาสารคามถึงจังหวัดอุบลราชธานี : 2549) ปลาธรรมชาติ ที่ปรับสภาพกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำไม่ได้จะตายและสูญพันธุ์ ส่งผลต่อความสมดุลของแม่น้ำ เมื่อความเป็นธรรมชาติสูญเสียความสมดุล ส่งผลกระทบต่อพันธุ์พืช สัตว์น้ำ โดยบริษัทผู้ได้รับประโยชน์ตรงไม่ได้ให้ความสนใจ ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นปัญหาสืบเนื่อง ก็ตกเป็นของชุมชนอันเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วม ดังนั้นบริษัทจะต้องรับผิดชอบต่อการฟื้นฟู
ความเสี่ยงต่อสุขภาพเกษตรกร
การเลี้ยงปลาของเกษตรกรรายย่อย จะดำเนินการผลิตไปควบคู่กับฐานการผลิตดอื่น ของครอบครัว เช่น การทำนา เลี้ยงวัว ควาย ควบคู่กับการเลี้ยงปลา ซึ่งวิถีเดิมของเกษตรกรที่มีการทำนาเป็นหลัก มีที่ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการผลิต เมื่อการเลี้ยงปลาเริ่มต้นจากการใช้ที่ดิน ที่นาเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน การเป็นหนี้จึงเป็นที่มาของปัญหาสำคัญ อันส่งผลต่อความเครียด วิตกกังวลต่อการสูญเสียที่ดิน หากพิจารณาจากรูปแบบการทำเกษตรพันธะสัญญาที่มีปัญหาต่อความเสี่ยง ในเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้ว จะพบว่า ปัญหาการสูญเสียที่ดินที่เกิดจากความเสี่ยงของการลงทุน และการคุ้มครอง สวัสดิ์ภาพของเกษตรกรผู้รับจ้างเลี้ยงปลาให้กับบริษัท จะเป็นสิทธิที่จะได้รับกับสวัสดิการทางด้านแรงงานได้เลย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยจาการทำงานและการชดเชย กรณีปลาตายที่มีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำเสียจากสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมและสารเคมีที่ไหลลงสู่แม่น้ำจนทำ ให้ปลาตาย


เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาประสบปัญหาปลาตายเสียใจ
หน้ามืดเป็นลมล้ม เพราะความหมายคือหนี้สินก้อนโต
ปัญหาเหล่านี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายกฎหมายแรงงานแต่เป็นเพียงการทำพันธะสัญญาว่าจ้างทำของ จึงไม่คุ้มครองแรงงานดังกล่าว....

ข้อเสนอ ทางเลือก ทางรอด ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง
ข้อเสนอต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา
ปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาอยู่ที่การขาดอำนาจในการต่อรองกับ ทางบริษัทและร้านค้าที่เป็นตัวแทนบริษัทเพราะกลัวและเสี่ยงต่อการไม่ได้รับ โคว์ต้าการขายปลา นั่นเป็นที่มาของการขาดทุน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการรวมกลุ่ม ของผู้เลี้ยงปลา เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองเรื่อราคาและ ซื้อสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิต( ลูกปลา อาหารปลา ราคาขายปลา ) ในราคาถูก ขณะเดียวกันควรหันมาสร้างทางเลือกใหม่โดยเฉพาะการใช้บ่อดินเลี้ยงแทนการผลิต ในการะชัง เพราะสิ่งสำคัญคือการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเอง

ข้อเสนอต่อบริษัท/ร้านค้า
ปัญหาสำคัญ อยู่ที่สัญญาไม่เป็นธรรม เพราะผู้นำการผลิตที่ทางร้านค้าสัญญาว่าจะช่วย ( ลูกปลา อาหารปลา ราคาขายปลา ) ได้เอากำไรจาการผลิตสูงเกินกว่าราคาท้องตลาดทั่วไป โดยใช้เหตุผลทางสินเชื่อ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร เพราะความเป็นจริงจะต้องมองว่าผู้เลี้ยงปลาเป็นผู้รับจ้างของบริษัท ห้างร้าน และบริษัทห้างร้านคือผู้ว่าจ้าง ดังนั้นราคาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทางบริษัทและร้านค้าต้องแบกรับความเสี่ยงร่วมกับผู้ผลิตอย่างเป็นธรรม

ข้อเสนอต่อนโยบายและหน่วยงานรัฐ
ในปัจจุบันการทำเกษตรพันธะสัญญาได้ขยายถึงชุมชนและครอบครัวเกษตรกรโดยตรงใน ขณะเดียวกัน บริษัทห้างร้านก็อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการลงทุน โดยการสนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรแทนการลงทุนร่วม ความแยบยลของของบริษัทและห้างร้านที่มุ่งสร้างกำไรให้กับตนเองโดยอาศัยช่อง ว่างดังกล่าวยิ่งจะขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ สิ่งที่สร้างปัญหาที่เกิดกับเกษตรกรรายย่อยจึงตกเป็นชะตากรรมที่ไร้ที่พึ่ง โดยเฉพาะสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และสวัสดิการที่ไม่เคยได้รับ สิ่งเหล่านี้รัฐควรมีกลไกในการกำกับดูแล และมาตรการทางกฎหมายควบคุมข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว ในขณะเดียวกันควรมีกองทุนชดเชยการขาดทุนกรณีภาวะทางธรรมชาติและ การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทีเป็นพิษจากการเลี้ยงปลา โดยผลักดันให้บริษัท ห้างร้านร่วมรับผิดชอบในขณะเดียวกันควรจะมีมาตรการคุ้มครองเกษตรกรราบย่อย ผู้ที่ทำการผลิตแบบวิถีเดิม ควบคู่ไปกับการผลิตแบบใหม่ เช่น การเลี้ยงปลาด้วยการจัดหากองทุนหนุนการผลิตแบบพอเพียงและสวัสดิการของผู้ทำ การรับจ้างผลิตให้บริษัท โดยการผลักดันให้เป็นกฎหมายแรงงานนอกระบบ เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ

ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงและปรากฏการณ์ของปัญหาในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง “เมื่อไรสังคมไทยจะหันมาให้ความสำคัญกับการจัดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นอย่างจริงจังกันซะที” นี่คือคำถามจากเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sathai.org/story_thai/010-Contract%20Farming-Fish.htm
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution