วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

Biotechnology development direction Aquarium Thailand.เทคโนโลยี ชีวภาพ ทิศทางพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำไทย

เป็นที่ทราบกัน ดีว่า ประชากรในโลกของเราเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวันๆ ซึ่งสวนทาง กับ
ทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะยิ่งหรอยหรอลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะทรัพยากรประมง ซึ่งเป็น
แหล่งอาหารโปรตีนสำคัญของมนุษย์ โดยสาเหตุหลักนั้น มาจากฝีมือมนุษย์
ที่ได้มีการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้อุปกรณ์ในการทำการประมง จนสามารถจับสัตว์น้ำ
ตามแหล่งน้ำได้มากขึ้น และวิธีการ จับก็มีทั้งการจับอย่างถูกวิธีและไม่ถูกวิธี
การลักลอบจับสัตว์น้ำ รวมไปถึงการจับสัตว์น้ำในช่วงฤดู วางไข่ จนทำให้สัตว์น้ำ
ตามแหล่งธรรมชาติลดน้อยลงเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เริ่ม เสื่อมโทรม
ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สัตว์น้ำตามแหล่งน้ำ ธรรมชาติลดน้อยลง โดยเฉพาะ
สัตว์น้ำของไทย อย่างที่เห็นได้ชัด คือ กุ้งก้ามกราม ปลาเทโพ ปลาเทพา และปลาหมู
ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่มีเหลือ ให้เห็นตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมไปถึง หอยมือ เสือ

ที่จัดอยู่ในสัตว์น้ำที่หายาก จำเป็นต้อง ควบคุมและอนุรักษ์ไว้เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ 
ในขณะที่มีปลา สายพันธุ์ไทยหลายประเภทที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ปลาเสือตอลายใหญ่ 
ปลาหวีเกศ
กรมประมงในฐานะที่เป็นหน่วยงาน สำคัญในการพัฒนาการประมง การจัดการ
ทรัพยากรประมง ทั้งในด้านการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและการรักษาสิ่งแวดล้อม
จึงได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ ที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า ไบโอเทคโนโลยี
(
Biotechnology) เข้ามาช่วยในการพัฒนา ปรับปรุง และอนุรักษ์ สายพันธุ์สัตว์น้ำของไทย 
ให้ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพ ที่เหมาะสม กับการบริโภค ควบคู่ไปกับการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ 
เพื่อความยั่งยืนของอาชีพการประมง และการคงไว้ซึ่ง ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย

ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้า มามีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านประมงของไทย
โดย เฉพาะในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ปริมาณสัตว์น้ำจำนวนมาก
เพียงพอกับ การบริโภค ซึ่งกรมประมงได้มีการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา และมีการพัฒนา
มากขึ้นเรื่อยๆ โดย เฉพาะด้านการเพาะเลี้ยง เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพสัตว์น้ำ 

สามารถส่งออก เป็นแหล่งอาหาร โปรตีนเลี้ยงประชากรภายในประเทศและชาวโลกได้ ” 
นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ รองอธิบดีกรมประ มง เปิดเผยรายละเอียดถึงเรื่องดังกล่าว
สำหรับ เทคโนโลยีชีวภาพ ที่กรมประมงได้นำมาใช้นั้น มีทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่
ควบคู่กัน ไป ซึ่งสามารถสรุปได้ 5 รูปแบบหลัก คือ
1.เทคโนโลยีสมดุลทางชีวภาพ เพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ด้วยการ
พัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมุ่งเน้นที่สุขภาพของสัตว์น้ำเป็นหลัก
โดยการจัดการระบบน้ำเสีย หรือที่เรียกกันในระบบการเลี้ยงแบบปิด และระบบการเลี้ยง
แบบอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยใช้หลักสมดุลทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับ
สิ่งมีชีวิต ของเสีย การย่อยสลาย และห่วงโซ่อาหารมา ประยุกต์ใช้ในการจัดระบบ
การหมุนเวียนของน้ำในบ่อเลี้ยง

2.เทคโนโลยีการคัดเลือก ด้วยการพิจารณาคัดเลือกสายพันธุ์สัตว์น้ำจากรูปลักษณ์
ภายนอกที่ โดดเด่น เช่น เติบโตเร็ว เนื้อมาก เพื่อนำมาเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และ
พัฒนาสายพันธุ์

ในรุ่นต่อๆ ไป ทั้งนี้ กรมประมงได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม
กุ้งกุลาดำ ปลายี่สกเทศ
ปลาตะเพียน ปลาดุกอุย และปลานิลแดง โดยเฉพาะปลานิล ปัจจุบันได้มีการคัดเลือก สายพันธุ์
ปลานิลจากทั้งหมด
8 สายพันธุ์ของ 8 ประเทศ จนได้ปลานิลจิตรลดา 3 ที่มีลักษณะเด่น คือ
โตไว หัวเล็ก เนื้อมาก

3.เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย เป็นเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความสำคัญมากซึ่ง
กรมประมงนำมาใข้ในการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของสัตว์น้ำในหลายๆ ด้าน ซึ่งเป็นข้อมูล
ในระดับโปรตีน และดีเอ็นเอที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การปรับปรุงพันธุ์ สัตว์น้ำสามารถ
ดำเนินการ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพสูงสุด และยั่งยืนตลอดไป ซึ่งจะดีกว่าการปรับปรุง
พันธุ์สัตว์น้ำโดย การคัดเลือกจากรูปลักษณ์ภายนอกเพียงอย่างเดียว การศึกษาโดยใช้

เทคโนโลยี  ดังกล่าวดำเนิน การในสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาแรด ปลากดเหลือง
กุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ ปูม้า ปู ทะเล ฯลฯ
4.เทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อ พันธุ์โดยการแช่แข็ง ซึ่งเป็นการสำรองเชื้อพันธุ์ไว้ใช้ประโยชน์
เพื่อการเพาะเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ โดยกรมประมงได้จัดตั้ง

ธนา คารพันธุกรรมสัตว์น้ำขึ้น มีหน้าที่ในการรวบรวมน้ำเชื้อในรูปแช่แข็ง ของพันธุ์ปลา

หายาก หรือ พันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่ได้จากธรรมชาติ
การเพาะเลี้ยง และ การปรับ ปรุงพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ น้ำเชื้อในรูปของ
น้ำเชื้อแช่แข็งทั้งหมด
26 สายพันธุ์ โดยเป็น สายพันธุ์ของสัตว์น้ำ 7 ชนิด ได้แก่
ปลากดแก้ว ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาดุกอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาหมอไทย และปลานิล

5.เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งเป็นการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโดยตรงที่ลักษณะทาง
พันธุกรรมเพื่อพัฒนาให้มีลักษณะที่แสดงตามต้องการอย่างรวดเร็ว 
กรมประมงมีด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้ แก่
5.1 เทคโนโลยีการแปลงเพศด้วย ฮอร์โมน ด้วยการให้ลูกปลากินฮอร์โมนเพื่อแปลงเพศ
ซึ่ง ได้มีการดำเนินการในปลานิล เพื่อผลิตลูกปลานิลเพศผู้ เพราะการเลี้ยงปลานิลเพศผู้ล้วน
จะให้ผล ผลิตดีกว่าการเลี้ยงปลาแบบรวมเพศ ซึ่งกรมประมงประสบความสำเร็จในการ
แปลงเพศปลานิล เป็นอย่างดี เพราะได้อัตราจำนวนเพศผู้สูงถึง
95-99%

5.2 เทคโนโลยีการจัดการโครโมโซมเพศ คือ การปรับปรุงโครโมโซมเพศใหม่ โดยได้
มีการทดลองในปลานิล และ ปลาตะเพียน ในส่วนของปลานิล ต้องการให้ได้ปลานิลเพศผู้
ซึ่ง โดยปกติจะต้องมีโครโมโซมเพศเป็น
XY แต่กรมประมงได้ สร้างพ่อพันธุ์ซูเปอร์เมล 

(SUPERMALE) ซึ่งมี โครโมโซมเพศเป็น YY ขึ้นมา ซึ่งเมื่อนำมาผสมพันธุ์กับเพศเมียปกติ
ที่ โครโมโซม เพศเป็น XX แล้ว ก็ควรจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น XY  
ปกติทั้ง หมด  แต่ผลการทดลองในปัจจุบันได้อัตราจำนวนเพศผู้เพียง 80% จึงยังต้อง
มีการศึกษาถึงวิธี การดังกล่าวต่อไป

ในส่วนของปลาตะเพียน ต้องการให้ได้ปลาเพศเมีย จึงได้มีการสร้างพ่อพันธุ์นีโอเมล
(
NEOMALE) ซึ่งเป็นปลาเพศผู้แต่มีโครโมโซม เพศเป็นของเพศเมียคือ XX ขึ้นมา
ดังนั้นเมื่อนำ ไปผสมพันธุ์กับ แม่พันธุ์เพศเมียปกติที่มีโครโมโซมเพศเป็น
XX เหมือนกัน
ก็จะได้ลูกปลาตะเพียน เพศเมียปกติซึ่งมีโครโมโซมเพศเป็น
XX ทั้งหมด
โดยผลที่ได้มีอัตราจำนวนเพศเมียสูงถึง
99- 100% ซึ่ง ขณะนี้
กรมประมงยังได้มีการศึกษาในปลาประเภทอื่นด้วย ได้แก่ ปลาหมอไทย และ ปลาดุกอุย

5.3 เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุ กรรม หรือ จีเอ็มโอ (GMOs) ขณะนี้กรมประมงยังอยู่
ระหว่าง การศึกษาถึงผลดีและผลเสีย โดยยังมิได้มีการทดลองในสัตว์น้ำ เนื่องจากเกรงว่า
หากมีปลา จีเอ็มโอเล็ดลอดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง
ต่อระบบนิเวศวิทยา เนื่องจาก สัตว์น้ำ หรือ ปลามีการแพร่กระจายพันธุ์ที่รวดเร็ว และควบคุม
ได้ยาก

5.4 เทคโนโลยีการฉายรังสีและการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งกรมประมงได้ใช้เทคโนโลยีนี้
ดำเนินการ ในส่วนของพรรณไม้น้ำสวยงาม โดยปัจจุบันสามารถพัฒนาพรรณไม้น้ำ
ได้หลายหลากสี สามารถ ส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยให้การประมงไทยมี
ความทันสมัยและทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาและอนุรักษ์
พันธุ์สัตว์น้ำของ ไทยคือ การปลูกจิตสำนึกของคนไทยให้มีความหวงแหน
และรู้จักคุณค่าของทรัพยากรประมง เพื่อให้ สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป









        


> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution