แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การรักษาโรคปลา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การรักษาโรคปลา แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Department of Fisheries, Government cooperation. Accelerate private brainstorming session to find solutions and prevent death from diseases of tilapia.กรมประมงร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนเร่งระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการตายของปลานิลจากโรค

พฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2553 09:56:07 น.

กรมประมงร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนเร่งระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการตายของปลานิลจากโรค



ปลานิลเป็น หนึ่งในสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างพอเพียง
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมประมงได้ รับรายงานจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิล เรื่องประสบปัญหาการตายของปลานิลโดยไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน รวมถึงต่างประเทศอย่างมาเลเซียที่มีการเพาะเลี้ยงปลานิลก็ประสบปัญหาปลาตาย เช่นกัน และพบการตายในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เดือนเมษายนมากที่สุด

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Natural substances from the foliage . สารธรรมชาติจากใบหูกวาง

  

หูกวาง ( Terminalia catappa Linn. ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เช่นเดียวกับสมอไทย และ สมอพิเภก มีชื่อสามัญคือ Tropical Almond, Singapore Almond, Bengal Almond, Umbrella Tree และมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันตามจังหวัดต่างๆ เช่น โคน ( นราธิวาส ) ดัดมือ ตัดมือ ( ตรัง ) ตาป่ง ( พิษณุโลก และ สตูล ) ตาแป่ห์ ( มาเลย์ - นราธิวาส ) หลุมปัง ( สุราษฎร์ธานี ) และ จัดเป็นพันธ์ไม้ชายหาด พบกระจัดกระจายตามชายฝั่ง ปลูกได้ทั่วไป ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย ถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะ ทวีปเอเชีย

ประเทศไทยสามารถพบต้น หูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution