ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่มีความคาดหวังต่อการทำเกษตรกระแสหลัก ซึ่งมีนโยบายรัฐสนับสนุน ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมเข้าสู่การผลิตแบบใหม่ ใช้เทคโนโลยีใหม่และใช้การตลาดเข้ามาหนุนเสริม โดยเริ่มจากการปลูกปอ ปลูกมัน ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา ปลูกยูคาลิปตัส การเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ เลี้ยงหมู กระทั่งเมื่อประมาณ ปี 2540 ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยบริษัทให้ความหวังกับเกษตรกรว่าจะมีหลักประกันราคา และเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาการเกษตร มีการสนับสนุนกองทุนหนุนการผลิต มีเทคโนโลยีที่ง่ายสะดวกสบาย สิ่งเหล่านี้เรียกง่ายๆ ว่า “เกษตรพันธะสัญญา”
คำว่า “เกษตรพันธะสัญญา” เป็นการทำเกษต ที่มีข้อตกลงกันระหว่างบริษัทหรือกลุ่มทุนกับเกษตรกรให้ทำการ ผลิต ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กรณีการเลี้ยงปลาในกระชัง ร้านค้าที่เป็นตัวแทนบริษัทจะตกลงกับเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงปลา ทางร้านสัญญาว่าจะช่วยเหลือ เรื่องพันธุ์ปลา อาหารปลา ความรู้การเลี้ยงปลา และตลาดปลา เป็นต้น ดังนั้นเกษตรพันธะสัญญาจึงเป็นที่มา ของแรงงานนอกระบบและสร้างปัญหาให้แก่ เกษตรกรมากมาย เพราะบริษัท และห้างร้าน ต้องการหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน สร้างแนวทางใหม่โดยทำข้อตกลงเป็นเพียงสัญญา “จัดว่าจ้างทำของ” คล้ายกับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบการลงทุนและ ความเสี่ยงต่อการผลิตเองทั้งหมด
จากบทเรียนการทำงานของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญา และการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน พบว่าการเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นรูปแบบพันธะสัญญาที่มีการตกลงสัญญ าระหว่างตัวแทนบริษัทกับเกษตรกรเป็น ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม เพราะการตกลงที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร ไม่มีความแน่นอนทางด้านราคา สินค้าที่จะใช้ในการผลิตถูกกำหนดโดยบริษัทเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคา เมื่อขายหรือจำหน่ายผลผลิต เพราะเงื่อนไขต่างๆ ถูกกำหนดด้วยร้านค้าและกลุ่มทุนด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งกระบวนการผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และ การประกันหมู่ของกลุ่มผู้ เลี้ยงปลาด้วยกัน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนถ้าจะทำการลงทุนต่อ จะขอทางร้านได้เพียงผ่อนผันหนี้ไม่เช่นนั้น จะดำเนินการยึดทรัพย์หรือบุคคลไปรับรองค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบ การใช้กระบวนการแบบนี้ เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อไม่ให้ความผิดอยู่ที่ตนหรือเป็นยุทธการใหม่ทาง การค้าที่เรียกว่า “เกษตรพันธะสัญญา” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สัญญาทาส” ซึ่งมีนัยสำคัญของปัญหา ที่เป็นประสบการณ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากับร้านค้า สัญญา ดังกรณีการศึกษาของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญาและการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน ต่อไปนี้
บุญลาภฟาร์ม จำหน่าย พันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด พันธุ์ปลาดุก พันธุ์ปลานิล พันธุ์ปลาทับทิม พันธุ์ปลาสวาย พันธุ์ปลาบึก พันธุ์ปลาตะเพียน ปลาไซด์ใหญ่ บ่อตกปลา ส่งทุกที่-มีทุกพันธุ์ 081-3057577 farm-fish@hotmail.com **** 46ม.7ต.ท่าข้ามอ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ****
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(2-3)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(3-4)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(4-5)นิ้ว
พันธุ์ปลานิล
พันธุ์ปลาทับทิม
พันธุ์ปลาสวาย
ปลาสวายลงบ่อตก
กุ้งก้ามกราม
พันธุ์ปลาแรด
พันธุ์ปลาหมอไทย
พันธุ์ปลาจาระเม็ดน้ำจืด
พันธุ์ปลาจีน
พันธุ์ปลาตะเพียน
พันธุ์ปลายี่สก
พันธุ์ปลาจระเข้
พันธุ์ปลาไน
พันธุ์ปลาบึก
ปลาบึกลงบ่อตก
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปลากระชัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปลากระชัง แสดงบทความทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Culture of tilapia in cages at the two. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง ตอนที่ 2
อัตราการปล่อยปลา
การ เลี้ยงปลาขนาดตลาด ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดปลาที่ตลาดต้องการและระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดในเวลาที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาย้อนกลับเพื่อหาขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง
เนื่อง จากการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังมีเป้าหมายการผลิตเพื่อการค้า ซึ่งผู้เลี้ยงควรที่จะผลิตปลาออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในระยะ เวลาที่เหมาะสมและมีปริมาณเพียงพอ
อัตราปล่อยที่กำหนดจะอยู่ภายใต้การตัดสินใจ ซึ่งควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
Creating a cage. การสร้างกระชัง
รูปร่างและขนาดของกระชัง
กระชัง ที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่า กระชังรูปแบบอื่นๆ
ขนาดกระชัง ที่ ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ
กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Culture of tilapia in cages . การ เลี้ยงปลาในกระชัง
การ เลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึง ปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่งเดียวทำให้สิ้น เปลืองในการลงทุน หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังได้แก่
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)