วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Mekong Giant Catfish ปลาบึก

การจัดการความรู้ในองค์กร - ปลาบึก



ปลาบึก
(Mekong Giant Catfish, Pangasianodon gigas Chevey, 1930)  เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มสัตว์หายากและใกล้จะสูญพันธุ์           ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3 เมตร มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม มีแหล่งอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำโขง ชาวไทยและชาวลาวรู้จักปลาชนิดนี้มาแต่ดึกดำบรรพ์ในชื่อบึก โสม(2510) อธิบายว่า บึก  นี้เพี้ยนมาจาก หึก ซึ่งเป็นคำในภาษาของกลุ่มชนสองฝั่งโขง ได้แก่ ไทยเหนือ ไทยอีสาน และลาว หมายถึง ใหญ่ ดังนั้นจึงเรียกปลาที่มีขนาดมหึมาชนิดนี้ว่า ปลาหึก เมื่อนานไปเลยเพี้ยนกลายเป็น ปลาบึก ตราบจนทุกวันนี้ กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อปี  2526  แต่ได้ลูกปลาไม่มากนัก  ต่อมาในปี  2527  ได้ดำเนินการเพาะพันธุ์อีกครั้ง  ซึ่งครั้งนี้ได้ลูกปลาจำนวนมาก  ลูกปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์ครั้งนี้ได้ส่งไปทดลองเลี้ยงในบ่อดิน  ตามสถานีประมงทั่วประเทศ
การจัดอนุกรมวิธาน (Taxonomy)
            ปลาบึกได้ถูกจัดลำดับทางอนุกรมวิธานของปลาไว้โดย Chevey (1930) ดังนี้                        Class                            Actinopterygii                           Subclass                         Notopterygii                                Order                               Siluriformes                                      Family                             Pangasiidae                                           Genus                              Pangasianodon                                               Species                           gigas 
ลักษณะสำคัญ
         
ปลาบึกเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างเพรียวยาวแบนข้างเล็กน้อยลูกปลาบึกขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเหลือง  ข้าง ลำตัวมีแถบคล้ำตามยาว 1-2 แถบ ครีบหางตอนบนและล่างมีแถบสีคล้ำตามยาว ในปลาขนาดใหญ่ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเทาอมน้ำตาลแดง ด้านข้างเป็นสีเทาปนน้ำเงินและจางกว่าด้านหลัง เมื่อค่อนลงมาทางท้องสีจะจางลงเรื่อยๆ จนเป็นสีขาวเงิน ตามลำตัวมักมีจุดสีดำค่อนข้างกลมกระจายอยู่ห่างๆ กันเกือบทั่วตัว ซึ่งจุดเหล่านี้ชาวประมง  จังหวัดหนองคาย เรียกว่า จุดน้ำหมึกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในปลาที่ขนาดใหญ่ขึ้น สีของครีบต่างๆ พบว่าครีบ ครีบอก  ครีบ ไขมันและครีบหางมีสีเทาปนดำ ครีบท้องและครีบก้นมีสีเทาอ่อน หัวปลาบึกมีขนาดใหญ่ จะงอยปากใหญ่กลมมนตั้งอยู่ที่ปลายสุดของหัว มีหนวดเส้นเล็กๆ จำนวน 2 คู่ ซ่อนอยู่ในร่องหลังมุมปากที่มุมขากรรไกรบนและล่าง  หนวดที่ขากรรไกรบน (maxillary barbel) มีลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็กและสั้นมาก  บริเวณ จะงอยปากมีรูจมูก 2 คู่ ตั้งอยู่บนริมฝีปากทางด้านข้างของจะงอยปาก คู่หน้าอยู่ชิดกันมากกว่าคู่หลัง นัยน์ตาของปลาบึกมีขนาดเล็กอยู่เป็นอิสระไม่ติดกับขอบตา ตำแหน่งของนัยน์ตาอยู่ต่ำกว่าระดับมุมปาก ลูกตา  มีหนังบางๆ คลุมด้านขอบเล็กน้อยเปิดเป็นช่องรูปกลม ที่กึ่งกลางกะโหลกมีจุดสีขาวขนาดเดียวกับตา 1 จุด  หรือ เล็กประมาณครึ่งหนึ่งของตา จากจุดนี้มีร่องพาดไปทางด้านหลังสิ้นสุดลงประมาณปลายช่องเปิดของกระพุ้งแก้ม ในปลาบึกโตเต็มที่ ขากรรไกรล่างจะยื่นล้ำขากรรไกรบนออกมา ช่องเปิดของเหงือกกว้างไปจนเลยขึ้นไปเหนือฐานครีบอก และตั้งเฉียงเป็นมุมประมาณ 45 องศากับลำตัว
ถิ่นที่อยู่อาศัย
         
ปลา บึกชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีระดับน้ำลึกกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเต็มไปด้วยก้อนหินและโขดหินสลับซับซ้อนกัน ยิ่งมีถ้ำด้วยแล้วปลาบึกจะชอบมากที่สุด ทั้งนี้พอสันนิษฐานได้จากการที่ปลาบึกเป็นปลาขนาดใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่ใน ระดับที่มีน้ำลึก และอาศัยถ้ำใต้น้ำเป็นที่หลบซ่อนตัว นอกจากนี้ยัง ได้อาศัยพวกตะไคร่น้ำต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ตามโขดหินเป็นอาหารอีกด้วย
การแพร่กระจาย
         
การ แพร่กระจายของปลาบึกมีเฉพาะแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แม้ว่าบางครั้งอาจจับปลาบึกได้จากแม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่เป็นสาขาของแม่น้ำโขง เช่นแม่น้ำสงคราม จังหวัดนครพนม แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี และแม่น้ำงึม แขวงนครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น ปลาที่จับได้บริเวณดังกล่าว เชื่อแน่ว่าเป็นปลาที่เข้าไปหากินในลำน้ำเป็นการชั่วคราว เกี่ยวกับเรื่องนี้ Dr.Smith กล่าว ว่า ปลาบึกอาศัยอยู่ทั่วไปในแม่น้ำโขงนับตั้งแต่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนลงมา ถึงเมียนม่าร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนกัมพูชา และสาธารณรัฐเวียดนามตอนใต้ แต่ไม่เคยปรากฏว่าพบในบริเวณน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำโขงที่ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้  ใน ประเทศไทยพบว่ามีปลาบึกอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตอนที่กั้นพรมแดนไทยโดยตลอด คือ นับตั้งแต่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ลงไปจนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวกันว่าแหล่งที่พบปลาบึกอาศัยอยู่ชุกชุมมากที่สุดในเขตจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ “วังปลาบึก หรือ อ่างปลาบึก” บ้านผาตั้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของปลาบึกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในสมัยเมื่อ 40 ปีก่อน เฉพาะวังปลาบึก เคยจับปลาบึกได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40-50 ส่วนปลาบึกที่จับได้ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ชาวประมงเชื่อว่าอพยพย้ายถิ่นมาจากวังปลาบึกหลวงพระบาง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด หรือที่เว็บไซต์ http://www.fisheries.go.th/freshwater/KM/km.html
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution