บุญลาภฟาร์ม จำหน่าย พันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด พันธุ์ปลาดุก พันธุ์ปลานิล พันธุ์ปลาทับทิม พันธุ์ปลาสวาย พันธุ์ปลาบึก พันธุ์ปลาตะเพียน ปลาไซด์ใหญ่ บ่อตกปลา ส่งทุกที่-มีทุกพันธุ์ 081-3057577 farm-fish@hotmail.com **** 46ม.7ต.ท่าข้ามอ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ****
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(2-3)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(3-4)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(4-5)นิ้ว
พันธุ์ปลานิล
พันธุ์ปลาทับทิม
พันธุ์ปลาสวาย
ปลาสวายลงบ่อตก
กุ้งก้ามกราม
พันธุ์ปลาแรด
พันธุ์ปลาหมอไทย
พันธุ์ปลาจาระเม็ดน้ำจืด
พันธุ์ปลาจีน
พันธุ์ปลาตะเพียน
พันธุ์ปลายี่สก
พันธุ์ปลาจระเข้
พันธุ์ปลาไน
พันธุ์ปลาบึก
ปลาบึกลงบ่อตก
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
BLOTCHED SNAKE-HEAD FISH กระสง
ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ป้ายกำกับ:
กระสง
SMITH'S BARB กระมัง, มัง, วี, เลียม, เหลี่ยม, แพะ, สะกาง
ชื่อไทย | กระมัง มัง วี เลียม เหลี่ยม แพะ สะกาง |
ชื่อสามัญ | SMITH''S BARB |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Puntioplites proctozysron |
ถิ่นอาศัย | พบอาศัยในแม่น้ำและหนองบึงขนาดใหญ่ทุกภาคตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากะมัง ที่ปากน้ำโพมักเรียกปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม ที่หนองคายและนครพนม เรียก สะกาง ที่เชียงรายเรียก ปลาวี และภาคใต้ที่บ้านดอนเรียก ปลาแพะ |
ลักษณะทั่วไป | มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านหลังยกสูง ส่วนหัวโต ลำตัวแบนข้าง ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ปากอยู่ค่อนไปด้านล่างของจะงอยปากซึ่งค่อนข้างทู่ ไม่มีหนวด ครีบหลังยกสูง ที่ก้านครีบอันแรกเป็นก้านครีบแข็งที่มีหยักที่ขอบ ครีบก้นค่อนข้างยาวที่ก้านครีบอันแรกมีหยักที่ขอบด้านท้ายเช่นกันกับของครีบหลัง ครีบหางเว้าแฉกลึก ตัวมีสีเงินวาว ครีบมีสีเหลืองอ่อนที่ขอบมีสีคล้ำ |
การสืบพันธุ์ | - |
อาหารธรรมชาติ | กินพืชพรรณไม้น้ำ อินทรียสารที่เน่าเปื่อย |
การแพร่กระจาย | - |
สถานภาพ (ความสำคัญ) | เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ |
ที่มาของข้อมูล : กรมประมง |
FRESHWATER GARFISH, ROUND-TAIL GARFISH เข็มแม่น้ำ, กระทุงเหวเมือง, กระทุงเหว
ชื่อไทย | กะทุงเหว เข็มแม่น้ำ กะทุงเหวเมือง |
ชื่อสามัญ | Round - tail garfish , Freshwater garfish |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Xenentodon cancila (Buchanan) |
ถิ่นอาศัย | - |
ลักษณะทั่วไป | ปลากะทุงเหวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 10 - 25 เซนติเมตร จากการรายงานของ Smith (1945) ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบความยาว 32 เซนติเมตร รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอก ลำตัวกลมรูปไข่ จะงอยปากยื่นยาว ปากบนและล่างมีฟันแหลมคมซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกันเกือบจะเป็นเส้นตรง มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ประมาณส่วนที่ 4 ของความยาวลำตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหาง ครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อยและเห็นได้ชัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นสันแข็ง ตรงส่วนท้ายมีเกล็ดแบบโค้งมนปลายแหลม (ctenoid) เรียงซ้อนทับกันเป็นระเบียบ คล้ายการปูกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ในตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดง ตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือขุ่น ด้านบนมีสีเขียวอ่อน ด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหาง ครีบใส จะงอยปากตอนปลายมีสีแดงเป็นแต้ม ด้านท้องสีขาว |
การสืบพันธุ์ | โดยการนำแม่พันธุ์ปลากะทุงเหวมาปล่อยในบ่อซีเมนต์ ปล่อยให้ผสมพันธุ์ มีวัสดุวางไข่ลักษณะไข่จะเป็นไข่จม สีเหลืองเข้ม ที่ผิวเปลือกไข่มีเส้นใยเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือผสมพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ (Controled natural method) |
อาหารธรรมชาติ | อาหารของปลากะทุงเหวในธรรมชาติ จะหากินด้วยการจับปลาขนาดเล็กหรือลูกปลาซึ่งมักจะว่ายเข้ามาเลี้ยงตัวในบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือที่มีน้ำค่อนข้างตื้น สำหรับในเขตน้ำจืดมักจะกินพวกลูกกุ้งหรือแมลงบางชนิด |
การแพร่กระจาย | เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในเกือบทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลสม่ำเสมอ ในทวีปเอเชียพบในประเทศไทย อินเดีย พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิอบอุ่นเกือบตลอดปีของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทั่ว ๆ ไปในแถบปากน้ำสมุทรปราการ แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน ท่าฉลอม รวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งในเขตภาคใต้ เช่น ในทะเลสาบสงขลา แม่น้ำตาปี จังหวัด สุราษฎร์ธานี สำหรับในแหล่งน้ำจืดพบได้ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาขาตั้งแต่ภาคเหนือจนมาถึงภาคกลางในหลาย ๆ จังหวัด |
สถานภาพ (ความสำคัญ) | เป็นปลาเศรษฐกิจ |
ที่มาของข้อมูล : กรมประมง |
ป้ายกำกับ:
กระทุงเหว,
กระทุงเหวเมือง,
เข็มแม่น้ำ
STREAM BARILIUS น้ำหมึก
ชื่อไทย
ชื่อสามัญ
STREAM BARILIUS
Barilius pulchellus
ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ป้ายกำกับ:
น้ำหมึก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)