วันนี้(23 ก.ค.) รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ในฐานะนักวิจัยด้านมีนะวิทยา ซึ่งค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ มศว. ได้ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในนาข้าวของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 และยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยซึ่งปลาดังกล่าวค้นพบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง เขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ บริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง ทั้งนี้การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย ส่วนลักษณะของปลาชนิดนี้จะเป็นปลาในนาข้าว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและกินตัวอ่อนของพวกยุงเป็นอาหาร และยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น
บุญลาภฟาร์ม จำหน่าย พันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด พันธุ์ปลาดุก พันธุ์ปลานิล พันธุ์ปลาทับทิม พันธุ์ปลาสวาย พันธุ์ปลาบึก พันธุ์ปลาตะเพียน ปลาไซด์ใหญ่ บ่อตกปลา ส่งทุกที่-มีทุกพันธุ์ 081-3057577 farm-fish@hotmail.com **** 46ม.7ต.ท่าข้ามอ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ****
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(2-3)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(3-4)นิ้ว
พันธุ์ปลาดุก ขนาด(4-5)นิ้ว
พันธุ์ปลานิล
พันธุ์ปลาทับทิม
พันธุ์ปลาสวาย
ปลาสวายลงบ่อตก
กุ้งก้ามกราม
พันธุ์ปลาแรด
พันธุ์ปลาหมอไทย
พันธุ์ปลาจาระเม็ดน้ำจืด
พันธุ์ปลาจีน
พันธุ์ปลาตะเพียน
พันธุ์ปลายี่สก
พันธุ์ปลาจระเข้
พันธุ์ปลาไน
พันธุ์ปลาบึก
ปลาบึกลงบ่อตก
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 พบปลาในนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ของโลก
ฮือฮา มศว. พบปลาน้อยสายพันธุ์ใหม่ สปี่ชี่ที่ 5 ในนาข้าว ยาว 1 ซม. กินตัวอ่อนยุง-แมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร
วันนี้(23 ก.ค.) รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ในฐานะนักวิจัยด้านมีนะวิทยา ซึ่งค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ มศว. ได้ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในนาข้าวของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 และยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยซึ่งปลาดังกล่าวค้นพบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง เขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ บริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง ทั้งนี้การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย ส่วนลักษณะของปลาชนิดนี้จะเป็นปลาในนาข้าว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและกินตัวอ่อนของพวกยุงเป็นอาหาร และยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น
วันนี้(23 ก.ค.) รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ในฐานะนักวิจัยด้านมีนะวิทยา ซึ่งค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ มศว. ได้ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในนาข้าวของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 และยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยซึ่งปลาดังกล่าวค้นพบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง เขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ บริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง ทั้งนี้การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย ส่วนลักษณะของปลาชนิดนี้จะเป็นปลาในนาข้าว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและกินตัวอ่อนของพวกยุงเป็นอาหาร และยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น
ป้ายกำกับ:
ปลาสายพันธุ์ใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ZEBARFISH GMO.ปลาม้าลายเรืองแสง
...ปลาม้าลาย...
ชื่อไทย
ปลาม้าลาย หรือ ปลาซีบรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Brachydanio rerio
ชื่ออังกฤษ
Zebra Danio
ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
ป้ายกำกับ:
พันธุ์ปลาGMO
วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Prophylaxis การป้องกันโรค
ป้ายกำกับ:
โรคปลา
Nursing fish.การอนุบาลปลา
ป้ายกำกับ:
พันธุ์ปลาดุก
Artificial Insemination catfish. การผสมเทียมปลาดุก
ขอขอบคุณ v d o ชุดนี้ (ไม่สามารถขอบคุณที่ youtube ได้)
ป้ายกำกับ:
พันธุ์ปลาดุก
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Natural substances from the foliage . สารธรรมชาติจากใบหูกวาง
หูกวาง ( Terminalia catappa Linn. ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เช่นเดียวกับสมอไทย และ สมอพิเภก มีชื่อสามัญคือ Tropical Almond, Singapore Almond, Bengal Almond, Umbrella Tree และมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันตามจังหวัดต่างๆ เช่น โคน ( นราธิวาส ) ดัดมือ ตัดมือ ( ตรัง ) ตาป่ง ( พิษณุโลก และ สตูล ) ตาแป่ห์ ( มาเลย์ - นราธิวาส ) หลุมปัง ( สุราษฎร์ธานี ) และ จัดเป็นพันธ์ไม้ชายหาด พบกระจัดกระจายตามชายฝั่ง ปลูกได้ทั่วไป ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย ถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะ ทวีปเอเชีย
ประเทศไทยสามารถพบต้น หูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ป้ายกำกับ:
การรักษาโรคปลา
Breeding in tilapia sex.การเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ
อาารย์ กำจัด รื่นเริงดี หัวหน้าสานีวิจัยประมงกำแพงแสน ได้กล่าวว่า วัถุประสงค์ขอการทำวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลา นิล ถึงแม้ว่าปลานิลจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และขยายพันธุ์ได้ลอดทั้งปี แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาในเรื่องของการเจริญเติโต และขนาดที่แตกต่างกันของปลานิล ซึ่งส่งผลกระบต่อรายได้ของเกษตรกร
ป้ายกำกับ:
การเพาะปลา
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Culture of tilapia in cages at the two. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง ตอนที่ 2
อัตราการปล่อยปลา
การ เลี้ยงปลาขนาดตลาด ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดปลาที่ตลาดต้องการและระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดในเวลาที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาย้อนกลับเพื่อหาขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง
เนื่อง จากการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังมีเป้าหมายการผลิตเพื่อการค้า ซึ่งผู้เลี้ยงควรที่จะผลิตปลาออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในระยะ เวลาที่เหมาะสมและมีปริมาณเพียงพอ
อัตราปล่อยที่กำหนดจะอยู่ภายใต้การตัดสินใจ ซึ่งควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
Creating a cage. การสร้างกระชัง
รูปร่างและขนาดของกระชัง
กระชัง ที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่า กระชังรูปแบบอื่นๆ
ขนาดกระชัง ที่ ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ
กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Prepare a fish pond.การเลี้ยงปลาหมอตาล
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอตาล
ขนาดของบ่อเลี้ยงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เลี้ยง แต่โดยทั่วไปบ่อเลี้ยงมีขนาดตั้งแต่ 400-1,000 ตารางเมตร หรือ 3-4 ไร่ขึ้นไป ความลึกของบ่อควรลึกประมาณ 1-1.5 เมตร ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต ถ้าพื้นที่กว้างจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และจะมีอาหารธรรมชาติมากขึ้น เพราะปลาหมอตาลเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ทางธรรมชาติได้โดยการผสมพันธ์กันเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะอาดของบ่อ ต้องไม่มีศัตรูของปลาหมอตาลที่จะไปกินไข่ปลาในระหว่างปลาเริ่มวางไข่ ถ้ามีศัตรูของปลาจะทำให้ไข่ถูกทำลายได้ง่าย และไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ คันบ่อต้องมีความลาดเอียงเพื่อป้องกันดินพัง จะลาดเอียงขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน คันบ่อต้องมีขนาดใหญ่และสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ป้ายกำกับ:
ปลาหมอตาล
Researchers decode genetics mg giant catfish successfully . นักวิจัย มก. ถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกได้สำเร็จ
ปลาบึก (Pangasianodon gigas Chevey) เป็นปลาบึกน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำโขงแห่งเดียว เป็นปลาที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ซึ่งภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้จัดให้อยู่ใน เรดลิสท์ (red list) แต่ประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกเมื่อปี 2526 และขณะนี้ได้กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในประเทศ
ซึ่งภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้จัดให้อยู่ใน เรดลิสท์ (red list) แต่ประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกเมื่อปี 2526 และขณะนี้ได้กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในประเทศ
Culture of tilapia in cages . การ เลี้ยงปลาในกระชัง
การ เลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึง ปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่งเดียวทำให้สิ้น เปลืองในการลงทุน หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังได้แก่
ป้ายกำกับ:
ปลากระชัง
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Production of a frog farmer การเพาะกบ
กบ (Rana rugulosa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลำตัวค่อนข้างกลมรี มีขา 2 คู่ คู่หน้าสั้น คู่หลังยาว หัวมีส่วนกว้างมากกว่าความยาว จะงอยปากสั้นทู่ จมูกตั้งอยู่บริเวณโค้งตอนปลายชองจะงอยปาก นัยน์ตาโต และมีหนังตาปิดเปิดได้ ปากกว้างมีฟันเป็นแผ่นๆ อยู่บนกระดูกเพดาน ตัวผู้มีถุงเสียงอยู่ใต้คางและจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ขาคู่หน้าสั้นมีนิ้ว 4 นิ้ว ปลายนิ้วเป็นตุ่มกลม ขาคู่หลังยาว มี 5 นิ้ว ระหว่างนิ้วมีหนังเป็นพังผืด สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีเขียวปนน้ำตาล มีจุดสีดำกระจายเป็นประจำทั่วตัว ตามธรรมชาติกบอยู่ตามลำห้วย หนอง บึง และท้องนา กบจะกินปลา กุ้ง แมลง และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผัน โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติถึง 75 % นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวังเมื่อจำหน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกษตรกรต้องขวนขวายหาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงกบ หรือสัตว์น้ำอื่นๆ แต่สำหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่สนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีตลาดต่างประเทศที่ต้องการสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น กบนาที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่นกัน และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่มีผู้หันมากเลี้ยงกบมากขึ้น เพราะปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงทุกที เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของกบถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช การใช้ยากำจัดวัชพืช กำจัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำลายพันธุ์กบในธรรมชาติให้หมดสิ้นไปแต่ละปี ทั้งนี้รวมทั้งการจับกบมาจำหน่ายหรือการประกอบอาหาร โดยไม่มีการละเว้นกบเล็กกบน้อย เป็นการตัดหนทางการแพร่พันธุ์กบโดยสิ้นเชิงอีกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เลี้ยงกบหลายรายก็ต้องประสบความล้มเหลวในการเพาะเลี้ยงกบ อันเนื่องจากการไม่เข้าใจการเลี้ยง โดยเฉพาะไม่เข้าใจในอุปนิสัยใจคอของกบ ซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยง เช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกัน การเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่าๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมากๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก้อตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ป้ายกำกับ:
การเพาเลี้ยงกบ
โรคปลานิล
ชนิดของปรสิตภายนอก ได้แก่
เนื่อง จากปัจจุบันผลผลิตปลานิลยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงเร่งเพิ่มกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ โดยการปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นมาก ในกรณีนี้ หากฟาร์มใดขาดการจัดการที่ดีจะเป็นผลให้สิ่งแวดล้อมในบ่อไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเครียดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ง่าย ซึ่งพอจะแบ่งโรคของปลานิลออกตามสาเหตุได้ดังนี้
โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายนอก
ปรสิต ภายนอกที่ทำอันตรายต่อปลานิลมีหลายชนิด โดยปรสิตจะเข้าเกาะในบริเวณเหงือก ผิวหนังและครีบ ทำให้ปลาเกิดความระคายเคือง เกิดบาดแผล ส่วนพวกที่เกาะบริเวณเหงือกจะทำให้มีผลต่อระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซทำให้ปลา เกิดปัญหาขาดออกซิเจนได้
ชนิดของปรสิตภายนอก ได้แก่
1. โปรโตซัว พยาธิในกลุ่มนี้จะทำลายต่อลูกปลามากกว่าปลาขนาดใหญ่ ชนิดของโปรโตซัวที่พบบ่อย ได้แก่ เห็บระฆัง Trichodina sp., Chilodonella sp., Ichthyophthirius multifilis, Epistylis sp., Scyphidia sp., Apiosoma sp., และ Ichthyobodo sp.
การรักษา : ใช้ฟอร์มาลิน(formalin) อัตราเข้มข้น 5 - 50 ppm.
2. ปลิงใส ได้แก่ Gyrodactylus sp. และ Dactylogyrus sp. พวกนี้จะเข้าเกาะบริเวณเหงือกทำให้เหงือกมีผิวหนาขึ้น หรือเกิดอาการบวม ทำให้ปลาหายใจไม่สะดวก
การรักษา : เช่นเดียวกับโปรโตซัว
3. ครัสเตเซียน ได้แก่ Arhulus sp., Ergasilus sp., Lernaea sp. และ Lamproglena sp. ปรสิตในกลุ่มนี้ ส่วนของอวัยวะที่มีปลายแหลมฝังเข้าไปในเนื้อปลาเพื่อช่วยในการยึดเกาะและ / หรือกินเซลล์ หรือเลือดของปลาเป็นอาหาร ซึ่งทำอันตรายต่อปลาอย่างรุนแรง ทำให้ปลาเกิดแผลขนาดใหญ่ และสูญเสียเลือด ถ้าพบเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาตายอย่างรวดเร็ว ปรสิตกลุ่มนี้มักพบในปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเป็นส่วนใหญ่
การรักษา : ใช้ดิพเทอร์เรกซ์(Dipterex) ในอัตราความเข้มข้น 0.25 - 0.5 ppm. แช่ตลอด
โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายใน
ปรสิตกลุ่มนี้มักพบอยู่ในทางเดินอาหาร และไม่ทำอันตรายต่อปลามากนัก
1. โปรโตซัว ชนิดที่พบในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ Eimeria sp. ถ้ามีเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาผอมได้ ส่วนอีกชนิดพบในระบบหมุนเวียนโลหิต ได้แก่ Trypanosoma sp. ปรสิตชนิดนี้แม้จะตรวจพบในระบบเลือดของปลานิลแต่ยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าทำ ให้ปลานิลป่วยหรือตายได้
2. เมตาซัว ได้แก่ digenetic, trematodes, cestodes, mematodes และ acanthocephalan
โรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจาก Flexibacter columnaris พบในปลานิลที่เลี้ยงน้ำจืด ส่วนปลานิลที่เลี้ยงน้ำกร่อยจะเป็นชนิด F. maritimus โรคนี้มักพบในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ในช่วงอากาศเย็น ในช่วงฝนตกหนัก และหลังจากการขนย้ายปลา ปลาที่พบว่ามีอาการตัวด่างมักตายในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่รีบรักษาทันทีปลาจะตายหมดบ่อภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
การรักษา : ใช้ยาเหลือง Aeriflavin แช่ในอัตราความเข้มข้น 1 - 3 ppm. ถ้าลูกปลาที่อนุบาลในบ่อปูน หรือถังไฟเบอร์ อาจใช้ด่างทับทิมในอัตราความเข้มข้น 2 - 4 ppm. แช่ตลอด
2. โรคติดเชื้อ Aeromonas ปลาจะมีอาการตกเลือดตามตัว ท้องบวม มีเลือดปนน้ำเหลืองในช่องท้องหรือมีแผลหลุม
การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารในอัตรา 3 - 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินนาน 5 - 7 วัน
3. โรคติดเชื้อ Streptococcus ปลามีอาการตาขุ่น ตาบอด หรือตกเลือดภายในลูกตา บางครั้งพบว่าใต้คางหรือช่องขับถ่ายมีอาการบวมแดงมีน้ำเลือดภายในช่องท้อง โรคนี้จะเป็นลักษณะของโรคที่เรื้อรังคือ ปลาจะแสดงอาการของโรคช้าและเป็นระยะเวลานานกว่าปลาจะตาย
การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารในอัตรา 3 - 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นาน 5 - 7 วัน
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
รา เป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ Achlya sp. และ Aphanomyces sp. ทำให้ปลาเกิดแผลและบริเวณแผลจะมีเส้นสีขาวคล้ายขนขึ้นฟูเป็นกระจุกปลาป่วยจะ กินอาหารน้อยลง
การรักษา : ใช้ trifluralin แช่ในอัตราความเข้มข้น 0.05 - 0.1 ppm.
โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
ในประเทศไทยยังไม่มีรายงาน
การป้องกันการเกิดโรค
1. ระวังไม่ให้ปลาเกิดความเครียด โดยการดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นจนเกินไป มีการถ่ายเทน้ำให้อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม
2. เมื่อนำปลาใหม่เข้ามาในฟาร์ม ควรจะแช่ฟอร์มาลินในอัตราความเข้มข้น 25 - 30 ppm. (ส่วนในล้าน) เพื่อจำกัดปรสิตที่อาจติดมากับตัวปลา
3. เมื่อมีการขนส่งปลา ควรแช่เกลือในอัตรา 0.1 - 0.5 % เพื่อลดความเครียดให้กับปลา
4. ซื้อพันธุ์ลูกปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่เคยมีการระบาดของโรคปลา
5. ถ้ามีการนำผักตบหรือผักบุ้งใส่ลงในบ่อ ควรจะทำความสะอาดรากและใบของผักก่อน โดยการแช่ด่างทับทิมเข้มข้น 5 ppm. นาน 10 นาที จึงล้างน้ำสะอาดก่อนใส่ลงในบ่อ เพื่อลดสปอร์ของเชื้อราและปรสิตที่อาจติดมา
ขอบคุณที่มาจาก นิตยาสารเกษตรศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2550
ขอบคุณที่มาจาก นิตยาสารเกษตรศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2550
ป้ายกำกับ:
โรคปลา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)