วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SIAMESE ROCK CATFISH กดหิน, แขยงหิน


ชื่อไทยกดหิน แขยงหิน
ชื่อสามัญSIAMESE ROCK CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์Leiocassis siamensis
ถิ่นอาศัยอยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ
ลักษณะทั่วไปลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็กๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา
การสืบพันธุ์-
อาหารธรรมชาติกินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง


วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

LONG-FATTY FINNED MYSTUS แขยงใบข้าว



ชื่อไทย

แขยงใบข้าว

ชื่อสามัญ

LONG-FATTY FINNED MYSTUS

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mystus cavasius

ถิ่นอาศัย

มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองและลำธาร

อาหาร

กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย

ขนาด

ความยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/fresh/afwindex.html

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

HALF-BEAK, WRESTLING HALF-BEAK เข็ม




ชื่อไทย

เข็ม

ชื่อสามัญ

HALF-BEAK, WRESTLING HALF-BEAK

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dermogenus pusillus

ถิ่นอาศัย

พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป

อาหาร

กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ ลูกน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ

ขนาด

ความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร

ประโยชน์

เลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้กัดพนันเอาเดิมพัน


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/fresh/afwindex.html

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


BOCOURT'S RIVER CATFISH แขยงธง




ชื่อไทย

แขยงธง

ชื่อสามัญ

BOCOURT'S RIVER CATFISH

ชื่อวิทยาศาสตร์

Heterobagrus bocourti

ถิ่นอาศัย

โดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ตามแม่น้ำและลำคลอง อาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็นครั้งคราว

อาหาร

กินลูกปลา ลูกกุ้ง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย

ขนาด

ความยาวประมาณ 10-24 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/fresh/afwindex.html

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


IRIDESCENT MYSTUS แขยงข้างลาย






ชื่อไทย




แขยงข้างลาย


ชื่อสามัญ




IRIDESCENT MYSTUS


ชื่อวิทยาศาสตร์




Mystus vittatus


ถิ่นอาศัย




พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึง


อาหาร




กินลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย


ขนาด




ความยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร


ประโยชน์




นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหารได้


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/fresh/afwindex.html



จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




FRESHWATER GARFISH, ROUND-TAIL GARFISH เข็มแม่น้ำ, กระทุงเหวเมือง, กระทุงเหว


ชื่อไทยกะทุงเหว เข็มแม่น้ำ กะทุงเหวเมือง
ชื่อสามัญRound - tail garfish , Freshwater garfish
ชื่อวิทยาศาสตร์Xenentodon cancila (Buchanan)
ถิ่นอาศัย-
ลักษณะทั่วไปปลากะทุงเหวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 10 - 25 เซนติเมตร จากการรายงานของ Smith (1945) ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบความยาว 32 เซนติเมตร รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอก ลำตัวกลมรูปไข่ จะงอยปากยื่นยาว ปากบนและล่างมีฟันแหลมคมซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกันเกือบจะเป็นเส้นตรง มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ประมาณส่วนที่ 4 ของความยาวลำตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหาง ครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อยและเห็นได้ชัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นสันแข็ง ตรงส่วนท้ายมีเกล็ดแบบโค้งมนปลายแหลม (ctenoid) เรียงซ้อนทับกันเป็นระเบียบ คล้ายการปูกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ในตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดง ตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือขุ่น ด้านบนมีสีเขียวอ่อน ด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหาง ครีบใส จะงอยปากตอนปลายมีสีแดงเป็นแต้ม ด้านท้องสีขาว
การสืบพันธุ์โดยการนำแม่พันธุ์ปลากะทุงเหวมาปล่อยในบ่อซีเมนต์ ปล่อยให้ผสมพันธุ์ มีวัสดุวางไข่ลักษณะไข่จะเป็นไข่จม สีเหลืองเข้ม ที่ผิวเปลือกไข่มีเส้นใยเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือผสมพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ (Controled natural method)
อาหารธรรมชาติอาหารของปลากะทุงเหวในธรรมชาติ จะหากินด้วยการจับปลาขนาดเล็กหรือลูกปลาซึ่งมักจะว่ายเข้ามาเลี้ยงตัวในบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือที่มีน้ำค่อนข้างตื้น สำหรับในเขตน้ำจืดมักจะกินพวกลูกกุ้งหรือแมลงบางชนิด
การแพร่กระจายเป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในเกือบทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลสม่ำเสมอ ในทวีปเอเชียพบในประเทศไทย อินเดีย พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิอบอุ่นเกือบตลอดปีของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทั่ว ๆ ไปในแถบปากน้ำสมุทรปราการ แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน ท่าฉลอม รวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งในเขตภาคใต้ เช่น ในทะเลสาบสงขลา แม่น้ำตาปี จังหวัด สุราษฎร์ธานี สำหรับในแหล่งน้ำจืดพบได้ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาขาตั้งแต่ภาคเหนือจนมาถึงภาคกลางในหลาย ๆ จังหวัด
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นปลาเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

COMMON CLIMBING PERCH หมอไทย, หมอ, สะเด็ด, เข็ง




ชื่อไทย

หมอไทย, หมอ, สะเด็ด, เข็ง

ชื่อสามัญ

COMMON CLIMBING PERCH

ชื่อวิทยาศาสตร์

Anabas testudineus

ถิ่นอาศัย

แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ ภาคเหนือเรียกปลาสะเด็ด ภาคอีสานเรียกปลาเข็ง

อาหาร

กินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย

ขนาด

ความยาวประมาณ 7-23 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อมีรสอร่อยมีก้างแข็งแทรกปะปนอยู่กับเนื้อ ควรระมัดระวังในการรับประทาน


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/fresh/afwindex.html

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


WAANDER'S BONY LIPPED BARB ร่องไม้ตับ, ข้างลาย



ชื่อไทย

ร่องไม้ตับ, ข้างลาย

ชื่อสามัญ

WAANDER'S BONY LIPPED BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์

Osteochilus waandersi

ถิ่นอาศัย

อยู่ในแม่น้ำ ลำคลองและหนองบึงทั่วไป เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จันทบุรี แม่น้ำปราณ จังหวัดประจวบฯ ภาคเหนือพบที่แม่น้ำกก จังหวัดพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว แม่น้ำโขง ภาคใต้พบที่ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลำน้ำตาปี จังหวัดนครศรีธรรมราช และแม่น้ำปัตตานี

อาหาร

พืชไม้น้ำ ไรน้ำ และซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมกันอยู่ในน้ำ

ขนาด

ความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร

ประโยชน์

นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ แต่เนื่องจากปลาชนิดนี้มีนิสัยเกเรชอบรังควานปลาอื่น จึงไม่มีผู้นิยมเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



               

RED-CHEEK BARB แก้มช้ำ, ขาวสมอปุก, ปก, ปกส้ม, ลาบก, หางแดง


ชื่อไทยแก้มช้ำ ขาวสมอมุก ปก ปกส้ม ลาบก หางแดง
ชื่อสามัญRED - CHEEK BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Systomus orphoides
ถิ่นอาศัยพบทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุก เรียกกันในแถบภาคอีสาน
ลักษณะทั่วไปรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่ป้อมกว่า ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก 2 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มมีแต้มสีส้มหรือแดงเรื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดงเรื่อ ครีบหางสีแดงสดจะมีแถบสีคล้ำทั้งขอบบนและล่าง ที่โคนหางมีจุดกลมสีคล้ำ
การสืบพันธุ์สามารถเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดปลา 3 ชั่วโมง ปลาตัวผู้จะเริ่มคลอเคลียตัวเมีย จึงจับมาทำการผสมเทียมแบบแห้ง แล้วนำไปฟักโดยให้เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือรังเทียม จะใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 20 - 22 ชั่วโมง หรือเพาะโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังฉีดฮอร์โมน 5 - 6 ชั่วโมง ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่ติด สีเหลืองใส
อาหารธรรมชาติกินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RED-CHEEK BARB แก้มช้ำ, ขาวสมอปุก, ปก, ปกส้ม, ลาบก, หางแดง



ชื่อไทยแก้มช้ำ ขาวสมอมุก ปก ปกส้ม ลาบก หางแดง
ชื่อสามัญRED - CHEEK BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Systomus orphoides
ถิ่นอาศัยพบทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุก เรียกกันในแถบภาคอีสาน
ลักษณะทั่วไปรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่ป้อมกว่า ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก 2 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มมีแต้มสีส้มหรือแดงเรื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดงเรื่อ ครีบหางสีแดงสดจะมีแถบสีคล้ำทั้งขอบบนและล่าง ที่โคนหางมีจุดกลมสีคล้ำ
การสืบพันธุ์สามารถเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดปลา 3 ชั่วโมง ปลาตัวผู้จะเริ่มคลอเคลียตัวเมีย จึงจับมาทำการผสมเทียมแบบแห้ง แล้วนำไปฟักโดยให้เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือรังเทียม จะใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 20 - 22 ชั่วโมง หรือเพาะโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังฉีดฮอร์โมน 5 - 6 ชั่วโมง ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่ติด สีเหลืองใส
อาหารธรรมชาติกินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
  

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง

STRIPED TIGER NANDID หมอช้างเหยียบ, หมอโค้ว, ก๋า




ชื่อไทย

หมอช้างเหยียบ, หมอโค้ว, ก๋า

ชื่อสามัญ

STRIPED TIGER NANDID

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pristolepis fasciatus

ถิ่นอาศัย

ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

อาหาร

กินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ

ขนาด

ความยาวโดยทั่วไป 5-20 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อปลาใช้เป็นอาหาร


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     

COMMON ARCHER FISH เสือพ่นน้ำ, เสือ, ขมังธนู



ชื่อไทย

เสือพ่นน้ำ, เสือ, ขมังธนู

ชื่อสามัญ

COMMON ARCHER FISH

ชื่อวิทยาศาสตร์

Toxotes chatareus

ถิ่นอาศัย

อยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงที่มีทางเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำและตามบริเวณปากแม่น้ำ พบชุกชุมในภาคกลางและภาคใต้

อาหาร

กินแมลงที่บินอยู่ตามผิวน้ำ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลาและลูกน้ำ

ขนาด

ปลาขนาดเล็กมีความยาว 10-15 เซนติเมตร แต่ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 27 เซนติเมตร

ประโยชน์

มีเนื้อน้อยและมีกลิ่นเหม็นเขียวไม่นิยมรับประทาน เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันมาก


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

GLASS SHEATFISH ก้างพระร่วง



 
ชื่อไทยก้างพระร่วง
ชื่อสามัญGLASS SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์Kryptopterus bichirris
ถิ่นอาศัยพบตามแหล่งน้ำไหล บริเวณแนวร่มไม้ชายน้ำ ในภาคกลางพบที่ จ . นครนายก จันทบุรีและตราด ทางภาคใต้พบที่ จ . สุราษฎร์ธานี
ลักษณะทั่วไปขนาดเล็ก ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาวเรียว ด้านข้างแบน หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต มีหนวด 2 คู่ ไม่มีครีบหลัง ขนาดความยาวไม่เกิน 15 ซม . เนื้อของปลาชนิดนี้โปร่งแสงทำให้เห็นก้างอย่างชัดเจน เฉพาะส่วนหัวและกระเพาะอาหารทึบแสง
การสืบพันธุ์-
อาหารธรรมชาติหากินรวมกันเป็นฝูง กินแมลง ตัวอ่อนแมลง ลูกน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง

RED-TAILED SNAKEHEAD ก้าง



ชื่อไทย

ก้าง

ชื่อสามัญ

RED-TAILED SNAKEHEAD

ชื่อวิทยาศาสตร์

Channa gachua

ถิ่นอาศัย

พบแพร่กระจายอยู่ในลุ่มตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง และลำธาร ที่อยู่บนภูเขาสูง ปลาก้างสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่สูงถึง 2,000 ฟุต

อาหาร

กินลูกปลา ลูกกุ้งและแมลงน้ำ

ขนาด

ความยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อใช้ปรุงอาหารได้


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                

RED-FINNED BLACK SHARK กาแดง, สร้อยหลอด





ชื่อไทย

กาแดง, สร้อยหลอด

ชื่อสามัญ


RED-FINNED BLACK SHARK

ชื่อวิทยาศาสตร์


Epalzeorhynchos frenatus (Fowler)

ถิ่นอาศัย


บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหาร


ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนแมลงขนาดเล็ก ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย

ขนาด


ความยาวประมาณ 10-11 เซนติเมตร

ประโยชน์


นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์






GREATER BLACK SHARK กา, เพี้ย



ชื่อไทยกา เพี้ย
ชื่อสามัญGREATER BLACK SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์Morulius chrysophekadion
ถิ่นอาศัยแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้น ๆ และมีพรรณไม้น้ำ
ลักษณะทั่วไปรูปร่างค่อนข้างป้อม ส่วนหัวเล็ก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย สันหลังโค้งสูง ส่วนท้องแบน ปากอยู่ในแนวเดียวกับสันท้อง ยืดหดได้ และมีลักษณะแบบปากดูด ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมากไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบท้องยาวจดตอนต้นของครีบก้น ครีบหางเว้าลึก ตาเล็ก สีของลำตัวมีตั้งแต่ม่วงแก่ไปจนถึงดำเข้ม เกล็ดทุกเกล็ดมีจุดสีเหลืองจาง ๆ อยู่ตรงกลาง ครีบสีดำทั้งสิ้น ด้านท้องสีจาง
การสืบพันธุ์-
อาหารธรรมชาติกินตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นปลาสวยงามที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


SIAMESE FIGHTING FISH, BETTA กัด, กัดจีน



ชื่อไทย

กัด, กัดจีน

ชื่อสามัญ

SIAMESE FIGHTING FISH, BETTA

ชื่อวิทยาศาสตร์

Betta splendens Regan

ถิ่นอาศัย

ในธรรมชาติปลากัดอาศัยอยู่ตามบึง และหนองน้ำที่มีพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบชุกชุมในภาคกลาง ส่วนภาคอื่น ๆ ก็พบทั่วไป

อาหาร

กินตัวอ่อนแมลง ลูกน้ำ ไรน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ขนาด

ความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว

ประโยชน์

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม นับเป็นสินค้าขาออกที่ขึ้นหน้าขึ้นตาชนิดหนึ่ง


ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                

SOLDIER CROAKER ม้า, กวาง











ชื่อไทยม้า กวาง
ชื่อสามัญSOLDIER CROAKER
ชื่อวิทยาศาสตร์Boesmania microlepis
ถิ่นอาศัยแหล่งน้ำจืดพบมากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนทบุรีจนถึงชัยนาท ภาคอีสานจับได้น้อย จากแม่น้ำโขงเรียกว่า “ ปลากวาง ”
ลักษณะทั่วไปเป็นปลาน้ำเค็มที่เข้ามาอยู่ในน้ำจืดเป็นครั้งคราว มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านข้างแบนหางซึ่งเป็นบริเวณตั้งแต่รูก้นไปถึงปลายหางยาวเรียว หัวค่อนข้างเล็ก หน้างอนขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและอยู่คล้อยไปทางใต้ส่วนหัว นัยน์ตาค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและ ลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนปลายครีบจรดโคนหาง ครีบหูเล็กปลายแหลม ครีบท้องอยู่ใกล้อกมีก้านแข็งยืดยาวออกมาเป็นปลายแหลม ครีบหางยาวปลายแหลม พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเขียวอ่อนหลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาวเงินครีบต่างๆ สีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน ปลาม้ามี คุณสมบัติพิเศษที่สามารถทำเสียงได้ เนื่องจากมีกระเพาะลมขนาดใหญ่แข็งแรงและมีกล้ามเนื้อยึดติดกับลำตัว การทำงานของกล้ามเนื้อนี้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดเสียง
การสืบพันธุ์การผสมพันธุ์วางไข่มักเกิดในช่วง 18.00 - 20.00 น . โดยพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะวางไข่จะจับคู่ว่ายคลอเคลียบริเวณก้นบ่อประมาณ 30 นาที ก่อนที่ตัวเมียจะปล่อยไข่ผสมกับ น้ำเชื้อตัวผู้ ระยะเวลาในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 30 นาที ไข่เป็นแบบไข่ลอย ลักษณะกลม สีเหลืองใสเป็นประกาย มีหยดน้ำมันขนาดใหญ่ 1 หยด
อาหารธรรมชาติกินพวกกุ้ง
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง







                                

STRIPED CROAKING GOURAMI กริมข้างลาย, กัดป่า



ชื่อไทย

กริมข้างลาย, กัดป่า

ชื่อสามัญ

STRIPED CROAKING GOURAMI

ชื่อวิทยาศาสตร์

Trichopsis vittatus (Cuvier & Valenennes)

ถิ่นอาศัย

พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาค ตามลำธารเล็ก ๆ บึง หนอง สระ แม้แต่ในท้องร่องสวนที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้น้ำ

ขนาด

ความยาวไม่เกิน 6.5 เซนติเมตร

ประโยชน์

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

 

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 



SPOTTED FEATHERBACK กราย, หางแพน, ตองกราย




ชื่อไทย
กราย, หางแพน, ตองกราย

ชื่อสามัญ

SPOTTED FEATHERBACK

ชื่อวิทยาศาสตร์

Notopterus chitala (Hamilton-Buchanan)

ถิ่นอาศัย

พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย

อาหาร

ได้แก่ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย

ขนาด

ที่พบทั่วไปมีความยาว 48-85 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อมีรสอร่อย เหมาะสำหรับใช้ทำลูกชิ้นหรือทอดมัน ส่วนเชิงของปลากราย นิยมกันว่า หากนำมาทอดจะมีรสชาติอร่อยกว่าเนื้อปลาส่วนอื่น ๆ

 ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 


ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง



SCHWANENFELD'S TINFOIL BARB กระแหทอง, กระแห, ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ, ลำปำ



 
ชื่อไทยกะแหทอง กะแห ตะเพียนหางแดง เลียนไฟ ลำปำ
ชื่อสามัญSCHWANENFELD''S TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Barbodes schwanenfeldi
ถิ่นอาศัยพบตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงทั่วทุกภาค ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น พบในภาคกลางเรียก กระแห ตะเพียนหางแดง หรือกระแหทอง ทางภาคใต้เรียกปลาลำปำ ส่วนภาคอีสานเรียก ปลาเลียนไฟ
ลักษณะทั่วไปรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหางใหญ่ ปลายเป็นแฉกลึก กระโดงหลังสูงกว้างมีก้านครีบเดียวที่แข็งและขอบหยักเป็นฟันเลื่อยอยู่อันหนึ่ง สีพื้นของลำตัวเป็นสีขาวเงินหรือสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว กระโดงหลังสีแดงและมีแถบดำที่ปลายกระโดง ขอบบนและล่างของครีบหาง มีแถบสีดำข้างละแถบ
การสืบพันธุ์-
อาหารธรรมชาติกินพืชพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ขอบพระคุณภาพสวยๆจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำกรมประมง



SIAMESE GIANT CARP กระโห้, กะมัน, หัวมัน


ชื่อไทยกระโห้ กะมัน หัวมัน
ชื่อสามัญSIAMESE GIANT CARP
ชื่อวิทยาศาสตร์Catlocarpio siamensis
ถิ่นอาศัยเคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงบึงบอระเพ็ด ในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลำน้ำโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกชื่อปลานี้ว่า ปลากะมัน หรือหัวมัน
ลักษณะทั่วไปเป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง ส่วนของลำตัวบริเวณถัดจากช่องเปิดเหงือกโค้งเป็นสันนูนขึ้นมา หัวโต ความยาวของหัวจะประมาณหนึ่งในสามของลำตัว ไม่มีหนวด ปากกว้าง ตาเล็ก ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลัง ครีบหางใหญ่ มีฟันในลำคอหนึ่งแถว เกล็ดกลมมนขอบเรียบ ขนาดของเกล็ดขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงิน หรือมีสีน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ด้านท้องสีจาง ในเอกสารทางวิชาการรายงานว่าปลากระโห้ขนาดใหญ่ เกล็ดมีความยาวถึง 6.8 ซม . ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับฝ่ามือ
การสืบพันธุ์เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน แล้วผสมเทียมแบบแห้ง ปลากระโห้จะมีระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเพาะพันธุ์สั้นมาก
อาหารธรรมชาติกินแพลงก์ตอนและพรรณไม้น้ำ
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ (ความสำคัญ)เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง




> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution