วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Contract Farming and Riverine Aquaculture.เกษตรพันธะสัญญากับการเลี้ยงปลาในกระชัง :: รูปธรรมสัญญาทาสกับความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องแบกรับ

สุเมธ ปานจำลอง
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร
เกษตรพันธะสัญญา 4 พื้นที่ภาคอีสาน
ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่มีความคาดหวังต่อการทำเกษตรกระแสหลัก ซึ่งมีนโยบายรัฐสนับสนุน ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมเข้าสู่การผลิตแบบใหม่ ใช้เทคโนโลยีใหม่และใช้การตลาดเข้ามาหนุนเสริม โดยเริ่มจากการปลูกปอ ปลูกมัน ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา ปลูกยูคาลิปตัส การเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ เลี้ยงหมู กระทั่งเมื่อประมาณ ปี 2540 ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยบริษัทให้ความหวังกับเกษตรกรว่าจะมีหลักประกันราคา และเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาการเกษตร มีการสนับสนุนกองทุนหนุนการผลิต มีเทคโนโลยีที่ง่ายสะดวกสบาย สิ่งเหล่านี้เรียกง่ายๆ ว่า “เกษตรพันธะสัญญา”

คำว่า “เกษตรพันธะสัญญา” เป็นการทำเกษต ที่มีข้อตกลงกันระหว่างบริษัทหรือกลุ่มทุนกับเกษตรกรให้ทำการ ผลิต ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กรณีการเลี้ยงปลาในกระชัง ร้านค้าที่เป็นตัวแทนบริษัทจะตกลงกับเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงปลา ทางร้านสัญญาว่าจะช่วยเหลือ เรื่องพันธุ์ปลา อาหารปลา ความรู้การเลี้ยงปลา และตลาดปลา เป็นต้น ดังนั้นเกษตรพันธะสัญญาจึงเป็นที่มา ของแรงงานนอกระบบและสร้างปัญหาให้แก่ เกษตรกรมากมาย เพราะบริษัท และห้างร้าน ต้องการหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน สร้างแนวทางใหม่โดยทำข้อตกลงเป็นเพียงสัญญา “จัดว่าจ้างทำของ” คล้ายกับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบการลงทุนและ ความเสี่ยงต่อการผลิตเองทั้งหมด

จากบทเรียนการทำงานของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญา และการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน พบว่าการเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นรูปแบบพันธะสัญญาที่มีการตกลงสัญญ าระหว่างตัวแทนบริษัทกับเกษตรกรเป็น ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม เพราะการตกลงที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร ไม่มีความแน่นอนทางด้านราคา สินค้าที่จะใช้ในการผลิตถูกกำหนดโดยบริษัทเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคา เมื่อขายหรือจำหน่ายผลผลิต เพราะเงื่อนไขต่างๆ ถูกกำหนดด้วยร้านค้าและกลุ่มทุนด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งกระบวนการผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และ การประกันหมู่ของกลุ่มผู้ เลี้ยงปลาด้วยกัน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนถ้าจะทำการลงทุนต่อ จะขอทางร้านได้เพียงผ่อนผันหนี้ไม่เช่นนั้น จะดำเนินการยึดทรัพย์หรือบุคคลไปรับรองค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบ การใช้กระบวนการแบบนี้ เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อไม่ให้ความผิดอยู่ที่ตนหรือเป็นยุทธการใหม่ทาง การค้าที่เรียกว่า “เกษตรพันธะสัญญา” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สัญญาทาส” ซึ่งมีนัยสำคัญของปัญหา ที่เป็นประสบการณ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากับร้านค้า สัญญา ดังกรณีการศึกษาของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตร : เกษตรพันธะสัญญาและการรับจ้าง 4 ภูมินิเวศน์ ภาคอีสาน ต่อไปนี้

Department of Fisheries, Government cooperation. Accelerate private brainstorming session to find solutions and prevent death from diseases of tilapia.กรมประมงร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนเร่งระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการตายของปลานิลจากโรค

พฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2553 09:56:07 น.

กรมประมงร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนเร่งระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการตายของปลานิลจากโรค



ปลานิลเป็น หนึ่งในสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างพอเพียง
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมประมงได้ รับรายงานจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิล เรื่องประสบปัญหาการตายของปลานิลโดยไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน รวมถึงต่างประเทศอย่างมาเลเซียที่มีการเพาะเลี้ยงปลานิลก็ประสบปัญหาปลาตาย เช่นกัน และพบการตายในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เดือนเมษายนมากที่สุด
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution