วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 พบปลาในนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ของโลก

ฮือฮา มศว. พบปลาน้อยสายพันธุ์ใหม่ สปี่ชี่ที่ 5 ในนาข้าว ยาว 1 ซม. กินตัวอ่อนยุง-แมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร


วันนี้(23 ก.ค.)  รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)  ในฐานะนักวิจัยด้านมีนะวิทยา ซึ่งค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่า  ขณะนี้ มศว. ได้ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในนาข้าวของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010  และยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยซึ่งปลาดังกล่าวค้นพบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง  เขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ บริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง  ทั้งนี้การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย   ส่วนลักษณะของปลาชนิดนี้จะเป็นปลาในนาข้าว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร  อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและกินตัวอ่อนของพวกยุงเป็นอาหาร  และยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช  ซึ่งเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ZEBARFISH GMO.ปลาม้าลายเรืองแสง




...ปลาม้าลาย...

ชื่อไทย
ปลาม้าลาย หรือ ปลาซีบรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Brachydanio rerio
ชื่ออังกฤษ
Zebra Danio
ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

FISH GMO .การวิจัยปลาตัดต่อพันธุกรรม

ปลาม้าลายเรืองแสง (โกลฟิช) เป็นสัตว์เลี้ยงตัดต่อพันธุกรรมชนิดแรก 
แต่หากปราศจากกฎหมายควบคุม อาจเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด
ปลาม้าลายเรืองแสง (โกลฟิช) เป็นสัตว์เลี้ยงตัดต่อพันธุกรรมชนิดแรก แต่หากปราศจากกฎหมายควบคุม อาจเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Prophylaxis การป้องกันโรค




1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

Feeding fish.การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย





Nursing fish.การอนุบาลปลา



ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร

Artificial Insemination catfish. การผสมเทียมปลาดุก




ขอขอบคุณ v d o ชุดนี้ (ไม่สามารถขอบคุณที่ youtube ได้)

Catfish and Catfish Bangladesh ลักษณะของปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ




       แม่พันธุ์ปลาดุกอุย                                            พ่อพันธุ์ปลาดุกเทศ  


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Natural substances from the foliage . สารธรรมชาติจากใบหูกวาง

  

หูกวาง ( Terminalia catappa Linn. ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เช่นเดียวกับสมอไทย และ สมอพิเภก มีชื่อสามัญคือ Tropical Almond, Singapore Almond, Bengal Almond, Umbrella Tree และมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันตามจังหวัดต่างๆ เช่น โคน ( นราธิวาส ) ดัดมือ ตัดมือ ( ตรัง ) ตาป่ง ( พิษณุโลก และ สตูล ) ตาแป่ห์ ( มาเลย์ - นราธิวาส ) หลุมปัง ( สุราษฎร์ธานี ) และ จัดเป็นพันธ์ไม้ชายหาด พบกระจัดกระจายตามชายฝั่ง ปลูกได้ทั่วไป ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย ถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะ ทวีปเอเชีย

ประเทศไทยสามารถพบต้น หูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

Breeding in tilapia sex.การเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ



      อาารย์ กำจัด รื่นเริงดี หัวหน้าสานีวิจัยประมงกำแพงแสน ได้กล่าวว่า วัถุประสงค์ขอการทำวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลา นิล ถึงแม้ว่าปลานิลจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และขยายพันธุ์ได้ลอดทั้งปี แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาในเรื่องของการเจริญเติโต และขนาดที่แตกต่างกันของปลานิล ซึ่งส่งผลกระบต่อรายได้ของเกษตรกร
   

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Culture of tilapia in cages at the two. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง ตอนที่ 2


      อัตราการปล่อยปลา
       การ เลี้ยงปลาขนาดตลาด ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดปลาที่ตลาดต้องการและระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดในเวลาที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาย้อนกลับเพื่อหาขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง
       เนื่อง จากการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังมีเป้าหมายการผลิตเพื่อการค้า ซึ่งผู้เลี้ยงควรที่จะผลิตปลาออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในระยะ เวลาที่เหมาะสมและมีปริมาณเพียงพอ
       อัตราปล่อยที่กำหนดจะอยู่ภายใต้การตัดสินใจ ซึ่งควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
     

Creating a cage. การสร้างกระชัง

รูปร่างและขนาดของกระชัง
       กระชัง ที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่า กระชังรูปแบบอื่นๆ
       ขนาดกระชัง ที่ ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ
       กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร     กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Prepare a fish pond.การเลี้ยงปลาหมอตาล



การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอตาล

ขนาดของบ่อเลี้ยงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เลี้ยง แต่โดยทั่วไปบ่อเลี้ยงมีขนาดตั้งแต่ 400-1,000 ตารางเมตร หรือ 3-4 ไร่ขึ้นไป ความลึกของบ่อควรลึกประมาณ 1-1.5 เมตร ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต ถ้าพื้นที่กว้างจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และจะมีอาหารธรรมชาติมากขึ้น เพราะปลาหมอตาลเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ทางธรรมชาติได้โดยการผสมพันธ์กันเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะอาดของบ่อ ต้องไม่มีศัตรูของปลาหมอตาลที่จะไปกินไข่ปลาในระหว่างปลาเริ่มวางไข่ ถ้ามีศัตรูของปลาจะทำให้ไข่ถูกทำลายได้ง่าย และไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ คันบ่อต้องมีความลาดเอียงเพื่อป้องกันดินพัง จะลาดเอียงขนาดใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน คันบ่อต้องมีขนาดใหญ่และสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

Researchers decode genetics mg giant catfish successfully . นักวิจัย มก. ถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกได้สำเร็จ

ปลาบึก (Pangasianodon gigas Chevey) เป็นปลาบึกน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำโขงแห่งเดียว เป็นปลาที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์



ซึ่งภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้จัดให้อยู่ใน เรดลิสท์ (red list) แต่ประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกเมื่อปี 2526 และขณะนี้ได้กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในประเทศ

Culture of tilapia in cages . การ เลี้ยงปลาในกระชัง


      การ เลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึง ปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่งเดียวทำให้สิ้น เปลืองในการลงทุน หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังได้แก่

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Production of a frog farmer การเพาะกบ

กบ (Rana rugulosa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลำตัวค่อนข้างกลมรี มีขา 2 คู่ คู่หน้าสั้น คู่หลังยาว หัวมีส่วนกว้างมากกว่าความยาว จะงอยปากสั้นทู่ จมูกตั้งอยู่บริเวณโค้งตอนปลายชองจะงอยปาก นัยน์ตาโต และมีหนังตาปิดเปิดได้ ปากกว้างมีฟันเป็นแผ่นๆ อยู่บนกระดูกเพดาน ตัวผู้มีถุงเสียงอยู่ใต้คางและจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ขาคู่หน้าสั้นมีนิ้ว 4 นิ้ว ปลายนิ้วเป็นตุ่มกลม ขาคู่หลังยาว มี 5 นิ้ว ระหว่างนิ้วมีหนังเป็นพังผืด สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีเขียวปนน้ำตาล มีจุดสีดำกระจายเป็นประจำทั่วตัว ตามธรรมชาติกบอยู่ตามลำห้วย หนอง บึง และท้องนา กบจะกินปลา กุ้ง แมลง และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผัน โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติถึง 75 % นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวังเมื่อจำหน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกษตรกรต้องขวนขวายหาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงกบ หรือสัตว์น้ำอื่นๆ แต่สำหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่สนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีตลาดต่างประเทศที่ต้องการสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น กบนาที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่นกัน และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่มีผู้หันมากเลี้ยงกบมากขึ้น เพราะปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงทุกที เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของกบถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช การใช้ยากำจัดวัชพืช กำจัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำลายพันธุ์กบในธรรมชาติให้หมดสิ้นไปแต่ละปี ทั้งนี้รวมทั้งการจับกบมาจำหน่ายหรือการประกอบอาหาร โดยไม่มีการละเว้นกบเล็กกบน้อย เป็นการตัดหนทางการแพร่พันธุ์กบโดยสิ้นเชิงอีกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เลี้ยงกบหลายรายก็ต้องประสบความล้มเหลวในการเพาะเลี้ยงกบ อันเนื่องจากการไม่เข้าใจการเลี้ยง โดยเฉพาะไม่เข้าใจในอุปนิสัยใจคอของกบ ซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยง เช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกัน การเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่าๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมากๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก้อตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป


  โรคปลานิล
       เนื่อง จากปัจจุบันผลผลิตปลานิลยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงเร่งเพิ่มกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ โดยการปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นมาก ในกรณีนี้ หากฟาร์มใดขาดการจัดการที่ดีจะเป็นผลให้สิ่งแวดล้อมในบ่อไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเครียดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ง่าย ซึ่งพอจะแบ่งโรคของปลานิลออกตามสาเหตุได้ดังนี้
       โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายนอก
       ปรสิต ภายนอกที่ทำอันตรายต่อปลานิลมีหลายชนิด โดยปรสิตจะเข้าเกาะในบริเวณเหงือก ผิวหนังและครีบ ทำให้ปลาเกิดความระคายเคือง เกิดบาดแผล ส่วนพวกที่เกาะบริเวณเหงือกจะทำให้มีผลต่อระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซทำให้ปลา เกิดปัญหาขาดออกซิเจนได้

ชนิดของปรสิตภายนอก ได้แก่
       1. โปรโตซัว   พยาธิในกลุ่มนี้จะทำลายต่อลูกปลามากกว่าปลาขนาดใหญ่ ชนิดของโปรโตซัวที่พบบ่อย ได้แก่ เห็บระฆัง Trichodina sp., Chilodonella sp., Ichthyophthirius multifilis, Epistylis sp., Scyphidia sp., Apiosoma sp., และ Ichthyobodo sp.
       การรักษา : ใช้ฟอร์มาลิน(formalin) อัตราเข้มข้น 5 - 50 ppm.
       2. ปลิงใส ได้แก่ Gyrodactylus sp. และ Dactylogyrus sp. พวกนี้จะเข้าเกาะบริเวณเหงือกทำให้เหงือกมีผิวหนาขึ้น หรือเกิดอาการบวม ทำให้ปลาหายใจไม่สะดวก
       การรักษา :   เช่นเดียวกับโปรโตซัว
       3. ครัสเตเซียน ได้แก่ Arhulus sp., Ergasilus sp., Lernaea sp. และ Lamproglena sp. ปรสิตในกลุ่มนี้ ส่วนของอวัยวะที่มีปลายแหลมฝังเข้าไปในเนื้อปลาเพื่อช่วยในการยึดเกาะและ / หรือกินเซลล์ หรือเลือดของปลาเป็นอาหาร ซึ่งทำอันตรายต่อปลาอย่างรุนแรง ทำให้ปลาเกิดแผลขนาดใหญ่ และสูญเสียเลือด ถ้าพบเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาตายอย่างรวดเร็ว ปรสิตกลุ่มนี้มักพบในปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเป็นส่วนใหญ่
       การรักษา : ใช้ดิพเทอร์เรกซ์(Dipterex) ในอัตราความเข้มข้น 0.25 - 0.5 ppm. แช่ตลอด
       โรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายใน
       ปรสิตกลุ่มนี้มักพบอยู่ในทางเดินอาหาร และไม่ทำอันตรายต่อปลามากนัก
       1. โปรโตซัว ชนิดที่พบในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ Eimeria sp. ถ้ามีเป็นปริมาณมากจะทำให้ปลาผอมได้ ส่วนอีกชนิดพบในระบบหมุนเวียนโลหิต ได้แก่ Trypanosoma sp. ปรสิตชนิดนี้แม้จะตรวจพบในระบบเลือดของปลานิลแต่ยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าทำ ให้ปลานิลป่วยหรือตายได้
       2. เมตาซัว ได้แก่ digenetic, trematodes, cestodes, mematodes และ acanthocephalan
        โรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย
       1. โรคตัวด่าง เกิดจาก Flexibacter columnaris พบในปลานิลที่เลี้ยงน้ำจืด ส่วนปลานิลที่เลี้ยงน้ำกร่อยจะเป็นชนิด F. maritimus โรคนี้มักพบในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ในช่วงอากาศเย็น ในช่วงฝนตกหนัก และหลังจากการขนย้ายปลา ปลาที่พบว่ามีอาการตัวด่างมักตายในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่รีบรักษาทันทีปลาจะตายหมดบ่อภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
       การรักษา : ใช้ยาเหลือง Aeriflavin แช่ในอัตราความเข้มข้น 1 - 3 ppm. ถ้าลูกปลาที่อนุบาลในบ่อปูน หรือถังไฟเบอร์ อาจใช้ด่างทับทิมในอัตราความเข้มข้น 2 - 4 ppm. แช่ตลอด
       2. โรคติดเชื้อ Aeromonas ปลาจะมีอาการตกเลือดตามตัว ท้องบวม มีเลือดปนน้ำเหลืองในช่องท้องหรือมีแผลหลุม
       การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารในอัตรา 3 - 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินนาน 5 - 7 วัน
       3. โรคติดเชื้อ Streptococcus ปลามีอาการตาขุ่น ตาบอด หรือตกเลือดภายในลูกตา บางครั้งพบว่าใต้คางหรือช่องขับถ่ายมีอาการบวมแดงมีน้ำเลือดภายในช่องท้อง โรคนี้จะเป็นลักษณะของโรคที่เรื้อรังคือ ปลาจะแสดงอาการของโรคช้าและเป็นระยะเวลานานกว่าปลาจะตาย
       การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารในอัตรา 3 - 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นาน 5 - 7 วัน
       โรคที่เกิดจากเชื้อรา
       รา เป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ Achlya sp. และ Aphanomyces sp. ทำให้ปลาเกิดแผลและบริเวณแผลจะมีเส้นสีขาวคล้ายขนขึ้นฟูเป็นกระจุกปลาป่วยจะ กินอาหารน้อยลง
       การรักษา : ใช้ trifluralin แช่ในอัตราความเข้มข้น 0.05 - 0.1 ppm.
       โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
       ในประเทศไทยยังไม่มีรายงาน
       การป้องกันการเกิดโรค
       1. ระวังไม่ให้ปลาเกิดความเครียด โดยการดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นจนเกินไป มีการถ่ายเทน้ำให้อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม
       2. เมื่อนำปลาใหม่เข้ามาในฟาร์ม ควรจะแช่ฟอร์มาลินในอัตราความเข้มข้น 25 - 30 ppm. (ส่วนในล้าน) เพื่อจำกัดปรสิตที่อาจติดมากับตัวปลา
       3. เมื่อมีการขนส่งปลา ควรแช่เกลือในอัตรา 0.1 - 0.5 % เพื่อลดความเครียดให้กับปลา
       4. ซื้อพันธุ์ลูกปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่เคยมีการระบาดของโรคปลา
       5. ถ้ามีการนำผักตบหรือผักบุ้งใส่ลงในบ่อ ควรจะทำความสะอาดรากและใบของผักก่อน โดยการแช่ด่างทับทิมเข้มข้น 5 ppm. นาน 10 นาที จึงล้างน้ำสะอาดก่อนใส่ลงในบ่อ เพื่อลดสปอร์ของเชื้อราและปรสิตที่อาจติดมา


ขอบคุณที่มาจาก นิตยาสารเกษตรศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2550
> Credit : วิธีสร้าง WelCome Page บน Blogger Under Creative Commons License: Attribution